ฉ้อโกง หมายถึง (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานหลอกลวงผู้อื่นโดยทุจริต ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง โดยการหลอกลวง ดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามหรือทําให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทํา ถอน หรือทําลายเอกสารสิทธิเรียกว่า ความผิดฐานฉ้อโกง.
ก. ใช้อุบายหลอกลวงโดยเอาความเท็จมากล่าวเพื่อให้เขาหลงผิด.
ก. การที่พนักงานเจ้าหน้าที่เก็บเงินจากราษฎรแล้วไม่ส่งหลวงหรือเบียดบังเงินหลวง.
ว. แหว่ง, เว้า, (ใช้กับลักษณะของผม) ในคําว่า ผมฉอก, กระฉอก ก็ใช้.
ว. ข้างล่างแคบข้างบนกว้าง คือ ตีนสอบ เช่นพูดว่า เรือนหลังนี้ตีนมันฉ่องเข้าไปนัก. (ดิกชนารีไทย). ก. กระจ่าง เช่น ฉ่องพระโฉม; ส่อง.เช่น คันฉ่อง
ว. อาการที่พูดหรือเถียงไม่หยุดปาก เช่น พูดฉอด ๆ เถียงฉอด ๆ.
น. ชื่อเพลงสําหรับว่าแก้กันระหว่างชายกับหญิง เป็นเพลงที่นิยมว่าปากเปล่าโดยอาศัยปฏิภาณเป็นสําคัญ เมื่อว่าจบบทแล้ว ลูกคู่จะรับพร้อมกันว่า ชา ฉา ชา ฉาด ชา หน่อยแม่.
ว. พูดออดอ้อนหรือแสดงกิริยาทํานองนั้นเพื่อให้เขาเอ็นดูเป็นต้น (มักใช้เฉพาะเด็กหรือผู้หญิง).