จารึก ๒ หมายถึง ก. เขียนหรือจารให้เป็นรอยลึกเป็นตัวอักษรหรือภาพเป็นต้นบนแผ่นศิลา โลหะหรือดินเป็นต้น, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น จารึกไว้ในดวงใจ, ในบทกลอนหมายความว่า เขียนโดยทั่ว ๆ ไป ก็มี. น. เรียกศิลาที่จารึกเป็นตัวอักษรหรือภาพเป็นต้นว่าศิลาจารึก, เรียกสั้น ๆ ว่า จารึก เช่น จารึกอโศก จารึกสุโขทัย.
(แบบ) น. ทองคํา. ว. งาม, น่ารัก, สม, เหมาะ. (ป., ส.).
ว. ชุลมุน, วุ่นวาย, จะละหวั่น ก็ใช้.
น. สิ่งที่งอกอยู่ภายในผลไม้บางอย่าง เช่น จาวมะพร้าว จาวตาล,(กลอน) โดยปริยายหมายถึงนมผู้หญิง เช่น พวงจาวเจิดแจ่มแก้วจักรพรรดิ พี่เอย. (นิ. นรินทร์), ดวงจาววนิภาคย์พ้น เสาวบุษป์.(ทวาทศมาส).
น. เจ้า, ผู้เป็นใหญ่, หมายถึงเทวดาในชั้นอาภัสรพรหม. ก. โผลงมา,โฉบ, เช่น จาวชิมดินแสงหล่น. (แช่งน้ำ). (ไทยใหญ่ จาว ว่า โผลงมา).
ว. ตามกันไป, ประสานกันไป, เช่น ชลธารนทีเจือ จาวหลั่ง ไหลนา.(ทวาทศมาส). (ไทยขาว จาว ว่า ตกลง, ยอมตาม; จ่าว ว่า คล้อยตามคำแนะนำ).
น. ดอก, ดอกไม้, เช่น ดอกไม้งามเงื่อนแต้ม แชรงยอดแย้มผกาแจรงจาวจำแทงจำเทิด. (ม. คำหลวง จุลพน), จราว ก็ใช้, โดยปริยายหมายถึงผู้หญิง เช่น ไฟกามรลุงจาว ทองเทศ. (ทวาทศมาส).
ก. บาน (ใช้แก่ดอกไม้) เช่น โพทเลจาวดวงดอกก็มี. (ม. คำหลวงมหาพน). (ลาว จาว ว่า กำลังบาน).