ค้นหาคำศัพท์แบบเร่งด่วน


 

  • ความหมายของคำว่า ' จังหล่อ '

    จังหล่อ  หมายถึง น. เครื่องกีดกั้นขวางทางในสมัยโบราณ ปักเสาสูงราว ๒ ศอก มีไม้เสาทับหลัง ขวางถนนเป็น ๒ แนวเยื้องไม่ตรงกัน ปลายต่อปลายเกินกันทั้ง๒ ข้าง, ค่ายผนบ บ้านหล่อ จั้นหล่อ หรือ จำหล่อ ก็เรียก. (ลำดับสกุลเก่า;ลัทธิ). (จ. จั้ง ว่า กีด, ขวาง; โหล่ว ว่า ถนน).

advertisement

 

คำที่ใกล้เคียงกัน

  • จังหวะ

    น. ระยะที่สมํ่าเสมอ เช่น หัวใจเต้นเป็นจังหวะ, ระยะที่กําหนดไว้เป็นตอน ๆเช่น เพลงจังหวะช้า จังหวะเร็ว พูดเป็นจังหวะ, โดยปริยายหมายความว่าโอกาสอันควร เช่น เจ้านายกำลังโกรธ ไม่มีจังหวะจะเข้าพบ. (ข. จงวาก่).จังหวะจะโคน (ปาก) น. จังหวะ.

  • จังหวัด

    (กฎ) น. หน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคที่รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอเข้าด้วยกันและมีฐานะเป็นนิติบุคคล มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าปกครอง, (โบ) เมือง, หัวเมือง; ถิ่น, เขต, บริเวณ, เช่น อารามขึ้นคณะป่าแก้วในจังหวัดเมืองนครศรีธรรมราช. (ประชุมพระตำราบรมราชูทิศเพื่อกัลปนา).

  • จังหัน ๑

    น. ข้าว, อาหาร, (ใช้แก่พระสงฆ์). (ข. จงฺหาน่).

  • จังหัน ๒

    น. กังหัน.

  • จังออน

    น. มาตราตวงตามวิธีประเพณีของไทยโบราณ ๘ กำมือ = ๑ จังออนและ ๒ จังออน = ๑ แล่ง.

  • จัญไร

    ว. เลวทราม, เป็นเสนียด, ไม่เป็นมงคล, จังไร ก็ว่า.

  • จัณฑ-, จัณฑ์

    [จันทะ-, จัน] ว. ดุร้าย, หยาบช้า, เกรี้ยวกราด, ฉุน, ฉุนเฉียว; ราชาศัพท์.ใช้เรียกสุราหรือเมรัยว่า นํ้าจัณฑ์. (ป., ส.)

 


พจนานุกรมไทย-ไทย ออนไลน์

จุดประสงค์ของเว็บ เพื่อสนับสนุนการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามความหมายของแต่ละคำ ขอบคุณข้อมูลจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒