ค้นหาคำศัพท์แบบเร่งด่วน

 


 

advertisement

  • อ ๑

    พยัญชนะตัวที่ ๔๓ เป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นพยัญชนะตัวต้นได้อย่างตัวอื่น ๆ เช่น อา อก องค์, ใช้นําพยัญชนะเดี่ยวได้อย่างอักษรกลางอื่น ๆ เช่น อนึ่ง องุ่น แอร่ม, ใช้นําตัว ย ให้เป็นเสียงอักษรกลาง แต่นิยมใช้อยู่ ๔ คํา คือ อย่า อยู่ อย่าง อยาก, ใช้เป็นเครื่องหมายรูปสระ ออ เช่น กอ ขอ และ'ประสมกับเครื่องหมายเป็นสระ เอือ เออ เช่น เถือ เธอ, ใช้เป็นตัวเคียงสระ อือ เช่น คือ มือ.

  • อ ๒

    [อะ] เป็นอักษรใช้นําหน้าคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตบอกความปฏิเสธหรือตรงกันข้าม แปลว่า ไม่ หรือ ไม่ใช่ เช่นอศุภ (ไม่งาม) อธรรม (ไม่ใช่ธรรม); ใช้เป็น อน เมื่ออยู่หน้าคําที่ขึ้นต้นด้วยสระ เช่น อเนก (อน + เอก) อนาจาร (อน + อาจาร).(ป., ส.).

  • อก ๑

    น. ส่วนของร่างกายด้านหน้าอยู่ระหว่างคอกับท้อง; ใจ เช่น อกกรมอกเขาอกเรา; เรียกไม้ที่เป็นแกนกลางของตัวว่าวว่า อกว่าว; เรียกเลื่อยที่มีไม้ยันกลางว่า เลื่อยอก, เรียกไม้อันกลางที่ยันเลื่อยให้ตึงว่าอกเลื่อย.

  • อกกรม

    ว. มีความระทมใจ มักใช้เข้าคู่กับคำ หน้าชื่น เป็น หน้าชื่นอกกรม,หน้าชื่นอกตรม ก็ว่า.

  • อกไก่ ๑

    น. เรียกอกคนที่มีลักษณะนูนยื่นออกมาอย่างอกของไก่; ชื่อลวดบัวแบบหนึ่ง มีลักษณะนูนเป็นสันขึ้นอย่างอกของไก่ เรียกว่า บัวอกไก่.

  • อกคราก

    ว. คําที่กล่าวเปล่งออกมาหมายความว่า หนักเหลือเกิน, เดือดร้อนเหลือเกิน.

  • อกจะแตก

    อ. คำพูดที่เปล่งออกมาเมื่อตกใจเป็นต้น (ใช้แก่ผู้หญิง) เช่นอุ๊ย ! อกจะแตก, อกแตก ก็ว่า.

  • อกตั้ง

    ว. เต็มที่, เต็มแรง, เช่น วิ่งอกตั้ง เดินอกตั้ง; เรียกอาการที่นั่งหรือยืนตัวตรงว่า นั่งอกตั้ง ยืนอกตั้ง.

 


พจนานุกรมไทย-ไทย ออนไลน์

จุดประสงค์ของเว็บ เพื่อสนับสนุนการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามความหมายของแต่ละคำ ขอบคุณข้อมูลจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒