ค้นหาคำศัพท์แบบเร่งด่วน


 

  • ความหมายของคำว่า ' อักษรกลาง '

    อักษรกลาง  หมายถึง [อักสอน] น. พยัญชนะที่คําเป็นมีพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญผันได้ครบ ๔ รูป ๕ เสียง มีรูปวรรณยุกต์กับเสียงวรรณยุกต์ตรงกัน เช่น กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า คําตายมีพื้นเสียงเป็นเสียงเอกผันได้ ๔ เสียง มี ๓ รูป คือ พื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันด้วยวรรณยุกต์ ?เป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ ? เป็นเสียงตรีผันด้วยวรรณยุกต์ ? เป็นเสียงจัตวา เช่น จะ จ้ะ จ๊ะ จ๋ะ มี๙ ตัว คือ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ.

advertisement

 

คำที่ใกล้เคียงกัน

  • อักษรต่ำ

    [อักสอน] น. พยัญชนะที่คําเป็นมีพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญผันได้ ๓ เสียง มี ๒ รูป คือ ผันด้วยวรรณยุกต์ ? เป็นเสียงโทผันด้วยวรรณยุกต์ ?เป็นเสียงตรี เช่น คา ค่า ค้า คําตายสระสั้นพื้นเสียงเป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์ ? เป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ ? เป็นเสียงจัตวา เช่น คะ ค่ะ ค๋ะ คําตายสระยาวพื้นเสียงเป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ ?เป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์ ? เป็นเสียงจัตวา เช่น คาก ค้าก ค๋าก มี ๒๔ ตัว คือค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ.

  • อักษรบฏ

    [อักสอระบด] น. แผ่นผ้าที่เขียนสระ พยัญชนะ ใช้ในการเรียนการสอนในสมัยโบราณ, ที่ใช้แผ่นกระดาษติดผ้าหรือแผ่นกระดาษแทน ก็มี. (ส.).

  • อักษรลักษณ์

    [อักสอระลัก, อักสอนลัก] น. จดหมาย, ในบทกลอนมักใช้ว่าลักษณ์.

  • อักษรเลข

    [อักสอระเลก, อักสอนเลก] น. วิธีเขียนหนังสือลับโบราณใช้ตัวเลขแทนสระ; ตําแหน่งในคณะกรมการปกครองท้องที่มีมาแต่โบราณ,ต่อมาใช้เรียกผู้ทําหน้าที่เลขานุการของผู้ว่าราชการจังหวัด.

  • อักษรศาสตร์

    [อักสอระสาด, อักสอนสาด] น. วิชาการหนังสือ เน้นในด้านภาษาและวรรณคดี.

  • อักษรสมัย

    [อักสอนสะไหฺม] น. วิชาหนังสือว่าด้วยการอ่านการเขียน. (ส.).

  • อักษรสาส์น

    [อักสอนระสาด, อักสอนสาด] น. จดหมายของประธานาธิบดีหรือประมุขของประเทศซึ่งมีชื่อเป็นอย่างอื่นที่ใช้ในการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ, เขียนเป็น อักษรสาสน (อ่านว่าอักสอนสาน) ก็ได้.

 


พจนานุกรมไทย-ไทย ออนไลน์

จุดประสงค์ของเว็บ เพื่อสนับสนุนการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามความหมายของแต่ละคำ ขอบคุณข้อมูลจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒