ค้นหาคำศัพท์แบบเร่งด่วน


 

  • ความหมายของคำว่า ' อาทิตย, อาทิตย์ '

    อาทิตย, อาทิตย์  หมายถึง [ทิดตะยะ, ทิด] น. 'เชื้ออทิติ' คือ เทวดาพวกหนึ่งซึ่งเป็นลูกนางอทิติผู้เป็นชายาพระกัศยปประชาบดี เทวดาพวกนี้มีจํานวนกล่าวไว้ต่างกัน บ้างว่ามี ๕ องค์ บ้างว่ามี ๗ องค์ บ้างว่ามี ๑๒ องค์ ได้แก่อินทราทิตย์ (พระอินทร์) วรุณาทิตย์ (พระพิรุณ) ฯลฯ สูรยาทิตย์(พระอาทิตย์ที่ส่องโลก); ชื่อเทวดาพระเคราะห์ คือ สูรยาทิตย์;ดวงตะวัน (ชื่อเทวดาองค์หนึ่งในนิยาย), ในตํารานพเคราะห์นับเอาเป็นดาวพระเคราะห์ที่ ๑; ชื่อวันที่ ๑ ของสัปดาห์; รอบ ๗ วันเช่น ไม่ว่างตลอดอาทิตย์. (ส.; ป. อาทิจฺจ).

advertisement

 

คำที่ใกล้เคียงกัน

  • อาทิตยมณฑล

    น. ดวงอาทิตย์, รูปที่แลดูแบนแห่งดวงอาทิตย์.

  • อาทิตยวาร

    น. วันอาทิตย์, สูรยวาร หรือ อาทิจจวาร ก็ว่า.

  • อาทีนพ, อาทีนวะ

    [นบ, นะวะ] น. โทษ (บางทีใช้ควบกันว่า อาทีนพโทษ หรืออาทีนวโทษ); ผลร้าย, บางทีใช้เป็นส่วนท้ายของคำสมาสเช่น กามาทีนพ = โทษของกาม. (ป., ส.).

  • อาทีนพ, อาทีนวะ

    [นบ, นะวะ] น. โทษ (บางทีใช้ควบกันว่า อาทีนพโทษ หรืออาทีนวโทษ); ผลร้าย, บางทีใช้เป็นส่วนท้ายของคำสมาสเช่น กามาทีนพ = โทษของกาม. (ป., ส.).

  • อาทึก

    ว. เป็นที่ต้น, ก่อน, แรก, เบื้องต้น. (ป. อาทิก).

  • อาเทศ ๑

    [เทด] น. การแนะนํา, คําชี้แจง, คําบอกเล่า, คําสั่ง, กฎ.(ส.; ป. อาเทส).

  • อาเทศ ๒

    [เทด] น. การแปลงหรือแผลงพยัญชนะและสระตามข้อบังคับแห่งไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต เช่น สมบัติ + อภิบาล อาเทศสระอิ ที่ ติ เป็น ย แล้วสนธิกับ อภิบาล เป็น สมบัตยาภิบาล,ธนุ + อาคม อาเทศ สระอุ ที่ นุ เป็น ว แล้วสนธิกับ อาคม เป็นธันวาคม, อธิ + อาสัย อาเทศอธิ เป็น อัชฌ แล้วสนธิกับ อาสัยเป็น อัชฌาสัย. (ส.; ป. อาเทส).

 


พจนานุกรมไทย-ไทย ออนไลน์

จุดประสงค์ของเว็บ เพื่อสนับสนุนการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามความหมายของแต่ละคำ ขอบคุณข้อมูลจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒