ค้นหาคำศัพท์แบบเร่งด่วน


 

  • ความหมายของคำว่า ' อาการนาม '

    อาการนาม   หมายถึง [อาการะนาม] (ไว) น. คํานามที่บอกกิริยาอาการหรือความปรากฏเป็นต่าง ๆ ของคน สัตว์ และสิ่งของ ซึ่งมาจากคํากริยาหรือคําวิเศษณ์ที่มักมีคํา 'การ' หรือ 'ความ' นําหน้า เช่น การยืน การเดินการอยู่ ความรัก ความดี ความสวย.

advertisement

 

คำที่ใกล้เคียงกัน

  • อากาศ, อากาศ

    [อากาด, อากาดสะ] น. แก๊สผสมที่ประกอบด้วยไนโตรเจนและออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ ใช้หายใจหรือช่วยในการเผาไหม้เป็นต้น;(ปรัชญา) ที่ที่ว่างเปล่าซึ่งมีอยู่เป็นเอกเทศจากสสาร, เป็นธาตุอย่าง ๑ ใน ๖ คือ ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) อาโปธาตุ (ธาตุนํ้า) เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) วาโยธาตุ (ธาตุลม) อากาศธาตุ (ที่ว่างเปล่า) และวิญญาณธาตุ (ธาตุรู้); ท้องฟ้า เช่น นกบินไปในอากาศ; บางทีใช้หมายถึงสภาพดินฟ้าอากาศโดยทั่ว ๆ ไป เช่น เช้านี้อากาศดีจัง.(ส.; ป. อากาส).

  • อากาศ, อากาศ

    [อากาด, อากาดสะ] น. แก๊สผสมที่ประกอบด้วยไนโตรเจนและออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ ใช้หายใจหรือช่วยในการเผาไหม้เป็นต้น;(ปรัชญา) ที่ที่ว่างเปล่าซึ่งมีอยู่เป็นเอกเทศจากสสาร, เป็นธาตุอย่าง ๑ ใน ๖ คือ ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) อาโปธาตุ (ธาตุนํ้า) เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) วาโยธาตุ (ธาตุลม) อากาศธาตุ (ที่ว่างเปล่า) และวิญญาณธาตุ (ธาตุรู้); ท้องฟ้า เช่น นกบินไปในอากาศ; บางทีใช้หมายถึงสภาพดินฟ้าอากาศโดยทั่ว ๆ ไป เช่น เช้านี้อากาศดีจัง.(ส.; ป. อากาส).

  • อากาศธาตุ

    [ทาด] น. ที่ว่าง, ที่ว่างเปล่า; ลม, แก๊ส; โดยปริยายหมายถึงความว่างเปล่า เช่น ลงทุนทําการค้าไปหลายล้านบาท บัดนี้กลายเป็นอากาศธาตุไปหมดแล้ว.

  • อากาศยาน

    น. เครื่องนําไปทางอากาศ, ยานที่แล่นไปในอากาศ เช่น เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์.

  • อากูล

    [กูน] ว. คั่งค้าง เช่น การงานไม่อากูลเป็นมงคลอันสูงสุด.(ป., ส. อากุล).

  • อาเกียรณ์

    [เกียน] ว. เกลื่อนกล่น, เกลื่อนกลาด. (ส. อากีรฺณ; ป. อากิณฺณ).

  • อาขยาต

    [ขะหฺยาด] ว. กล่าวแล้ว. น. ชื่อคำกริยาประเภทหนึ่งในไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต ประกอบด้วย ธาตุ วิภัตติ กาล บท พจน์ บุรุษวาจก ปัจจัยเพื่อเป็นเครื่องหมายบอกเนื้อความให้ชัดเจน เช่น กโรติ= ย่อมกระทำ ประกอบด้วย กรฺธาตุ ติวิภัตติ ปัจจุบันกาล ปรัสสบทเอกพจน์ ปฐมบุรุษ กัตตุวาจก โอปัจจัย. (ป., ส.).

 


พจนานุกรมไทย-ไทย ออนไลน์

จุดประสงค์ของเว็บ เพื่อสนับสนุนการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามความหมายของแต่ละคำ ขอบคุณข้อมูลจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒