อ่า หมายถึง ก. ประดับ, ตกแต่ง.
(กลอน) ก. แต่งตัว เช่น ลูบไล้สุคนธาอ่าองค์ บรรจงทรงเครื่องวันอาทิตย์. (อิเหนา).
ก. เปิด, แยกออก, แบะออก, เช่น ปากอ้า; ทําให้เปิด, ทําให้แยกออก, ทําให้แบะออก, เช่น อ้าปาก.
(สำ) ก. หาเรื่องมาเป็นภาระของตนโดยไม่จำเป็น เช่น เขามีฐานะยากจนอยู่แล้วยังจะอ้าขาผวาปีกไปขอเด็กมาเลี้ยงเป็นลูกบุญธรรมอีก งานก็มากอยู่แล้ว ทำไมจะต้องอ้าขาพวาปีกไปรับงานอื่นมาอีก.
(สำ) ก. หาเรื่องมาเป็นภาระของตนโดยไม่จำเป็น เช่น เขามีฐานะยากจนอยู่แล้วยังจะอ้าขาผวาปีกไปขอเด็กมาเลี้ยงเป็นลูกบุญธรรมอีก งานก็มากอยู่แล้ว ทำไมจะต้องอ้าขาพวาปีกไปรับงานอื่นมาอีก.
ว. อาการที่นั่งหรือนอนถ่างขาอย่างเปิดเผย ในความว่า นั่งถ่างขาอ้าซ่า นอนถ่างขาอ้าซ่า, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เปิดอกอ้าซ่า, ลักษณะที่ประตูหรือหน้าต่างเปิดแบะออกเต็มที่ เช่น เปิดประตูอ้าซ่า.
ว. คำออกเสียงขึ้นต้นประโยคในคำประพันธ์ ใช้ในความรำพึงหรือพรรณนาวิงวอนอย่างเดียวกับคำ โอ้ หรือ โอ้ว่า.
[กอน] น. หมู่, กอง, เช่น พลากร (พล + อากร); บ่อเกิด, ที่เกิด,เช่น ทรัพยากร ศิลปากร; ค่าธรรมเนียมอย่างหนึ่งที่รัฐบาลเรียกเก็บ เช่น อากรรังนก อากรมหรสพ; คำเพิ่มข้างหลังของคำเดิมเมื่อเพิ่มแล้วหมายถึงพวกหรือหมู่ เช่น ดารากร นรากร ทวิชากรประชากร หรืออาจมีความหมายคงเดิมก็ได้ เช่น พระปฏิมากร.