อัฐ ๒ หมายถึง [อัดถะ] ว. แปด. (ป. อฏฺ?).
(โหร) น. เรียกดาวเฉพาะ ๘ ดวง คือ อาทิตย์ (ประจําทิศอีสานใช้เลข ๑ แทน) จันทร์ (ประจําทิศบูรพา ใช้เลข ๒ แทน) อังคาร(ประจําทิศอาคเนย์ใช้เลข ๓ แทน) พุธ (ประจําทิศทักษิณใช้เลข๔ แทน) เสาร์ (ประจําทิศหรดี ใช้เลข ๗ แทน) พฤหัสบดี (ประจําทิศประจิม ใช้เลข ๕ แทน) ราหู (ประจําทิศพายัพ ใช้เลข ๘ แทน)และศุกร์ (ประจําทิศอุดร ใช้เลข ๖ แทน) เขียนเป็นแผนภูมิดังนี้(รูปภาพ)ว่า ทักษา, ถ้าเกิดวันใด ก็ถือวันนั้นเป็นบริวาร แล้วนับเวียนขวาไปตามทิศทั้ง ๘ เช่น เกิดวันอาทิตย์ อาทิตย์เป็นบริวาร จันทร์เป็นอายุอังคารเป็นเดช พุธเป็นศรี เสาร์เป็นมูละ พฤหัสบดีเป็นอุตสาหะราหูเป็นมนตรีและศุกร์เป็นกาลกรรณี.
น. ชื่อพระแท่นรูป ๘ เหลี่ยม ที่พระมหากษัตริย์ประทับเพื่อรับนํ้าอภิเษกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก, เรียกเต็มว่า พระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์.
น. เครื่องใช้สอยของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา มี ๘ อย่างคือ สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ เข็มประคดเอว กระบอกกรองนํ้า (ธมกรก), สมณบริขาร ก็เรียก.(ป. อฏฺ?ปริขาร).
น. นํ้าที่คั้นจากผลไม้ มี ๘ อย่าง คือ นํ้ามะม่วง นํ้าชมพู่หรือนํ้าหว้านํ้ากล้วยมีเม็ด นํ้ากล้วยไม่มีเม็ด นํ้ามะซาง นํ้าลูกจันทน์หรือน้ำองุ่น นํ้าเหง้าอุบล นํ้ามะปรางหรือน้ำลิ้นจี่, เขียนว่า อัฏฐบาน ก็มี.
น. ดิถีที่ ๘, เรียกวันถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้าในวันแรม ๘ ค่ำเดือน ๖ ว่า วันอัฐมี.
น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๘ เช่น ปีขาลอัฐศกจุลศักราช ๑๓๔๘.
[อัดถะมะ] (แบบ) ว. ที่ ๘ เช่น อัฐมภาค อัฐมราชา. (ป. อฏฺ?ม).