หลวง หมายถึง ว. ที่เป็นของพระเจ้าแผ่นดิน เช่น ศาลหลวง วังหลวง; เป็นใหญ่ เช่นภรรยาหลวง, ใหญ่ เช่น เขาหลวง ผึ้งหลวง; สาธารณะ เช่น ทางหลวง. น. บรรดาศักดิ์ข้าราชการ สูงกว่าขุน ต่ำกว่าพระ เช่น หลวงวิจิตรวาทการ;(ปาก) คําเรียกพระภิกษุโดยความเคารพ เช่น หลวงปู่ หลวงพี่ หลวงน้า,คําเรียกพระจีน พระญวน ว่า หลวงจีน หลวงญวน.
น. ชื่อสมณศักดิ์พระสงฆ์จีนตั้งแต่ระดับพระคณานุกรมของเจ้าคณะใหญ่และรองเจ้าคณะใหญ่ จนถึงผู้ช่วยเจ้าคณะใหญ่ เช่นหลวงจีนวินยานุกร หลวงจีนคณาณัติจีนพรต หลวงจีนใบฎีกา.
(ปาก) น. คำเรียกพระพุทธรูปโดยความเคารพ เช่น หลวงพ่อโสธร หลวงพ่อแก้ว หลวงพ่อวัดไร่ขิง; คำเรียกพระภิกษุที่เป็นพ่อ หรืออยู่ในวัยเดียวกับพ่อ.
ว. ไม่แน่น, ไม่สนิท, เช่น นอตตัวนี้หลวม; ใหญ่เกินพอดี, ยังมีที่ว่างเหลืออยู่, เช่น จัดของใส่กระเป๋าหมดแล้ว กระเป๋ายังหลวมอยู่; โดยปริยายหมายความว่า ไม่กระชับ, ไม่รัดกุม, เช่น สำนวนหลวมไป เหตุผลยังหลวมอยู่, ไม่รอบคอบ เช่น สัญญาฉบับนี้ทำไว้หลวมเกินไป.
ก. เผลอไผลหรือถลำตัวเข้าไปโดยเข้าใจผิดหรือเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์เป็นต้น เช่น เขาหลวมตัวเล่นการพนันจนหมดตัว.
ว. ใช้ประกอบกับคํา เหลือ เป็น เหลือหลอ หมายความว่า หลงเหลืออยู่เช่น รถชนกันอย่างนี้ จะมีอะไรเหลือหลอเล่า, ถ้าใช้ในความปฏิเสธหมายความว่า หมดเกลี้ยง เช่น กินเสียจนไม่มีอะไรเหลือหลอ; เรียกฟันที่มีช่องว่างระหว่างฟันซึ่งเกิดจากฟันหลุด กร่อน หรือหักจนถึงโคนฟันเป็นต้น ว่า ฟันหลอ.
ก. เทโลหะเหลวหรือขี้ผึ้งเหลวเป็นต้นลงในแม่พิมพ์ แล้วทิ้งให้แข็งเป็นรูปตามแบบ (มักใช้ในงานประติมากรรมและอุตสาหกรรม) เช่น หล่อพระพุทธรูป หล่อกระทะ หล่อกระบอกปืนใหญ่; ขังน้ำหรือน้ำมันไว้เพื่อรักษาสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้คงสภาพ เช่น เอาน้ำหล่อคอนกรีตไว้ เอาน้ำมันจันทน์หล่อรักยม. (ปาก) ว. งาม เช่น รูปหล่อ.
ก. เอายางรถยนต์ที่สึกแล้วไปเสริมดอกยางเพื่อให้มีสภาพดีขึ้น.