ค้นหาคำศัพท์แบบเร่งด่วน


 

  • ความหมายของคำว่า ' ห้างหุ้นส่วนสามัญ '

    ห้างหุ้นส่วนสามัญ   หมายถึง (กฎ) น. ห้างหุ้นส่วนประเภทหนึ่ง ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคนต้องรับผิดร่วมกันเพื่อหนี้ทั้งปวงของหุ้นส่วนโดยไม่มีจํากัดห้างหุ้นส่วนสามัญจะจดทะเบียนหรือไม่ก็ได้ แต่เมื่อได้จดทะเบียนแล้วจึงจัดว่าเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งรวมเข้ากันเป็นห้างหุ้นส่วนนั้น.

advertisement

 

คำที่ใกล้เคียงกัน

  • หางกราย

    น. ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งใช้ทํายา. (พจน. ๒๔๙๓)

  • หางกะลวยไก่

    น. ต้นไม้ชนิดหนึ่งมีดอกเหมือนหางกะลวยไก่. (พจน. ๒๔๙๓).

  • หางกิ่ว

    น. (๑) ชื่อหนึ่งของปลาทะเลหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Carangidae อยู่ในกลุ่มปลาหางแข็ง สีกุน หรือม่ง ลักษณะสําคัญคือ ลําตัวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย หน้าครีบก้นมีหนามแข็ง ๒ อันพับได้ คอดหางแคบมาก เกล็ดบนเส้นข้างตัวที่คอดหางใหญ่เป็นเหลี่ยมแข็ง อยู่รวมกันเป็นฝูง เช่น ชนิดCaranx (Selar) mate ส่วนชนิดที่ใหญ่และยาวกว่าชนิดแรกมากคือCaranx sexfasciatus สําหรับชนิดหลังนี้ สีขน ก็เรียก. (๒) ดู ม้า ๓.

  • หางไก่

    น. ชื่อปลาทะเลชนิด Coilia macrognathus และ C. dussumieri ในวงศ์Engraulidae ลําตัวแบนข้าง ตั้งแต่ปลายปากถึงครีบหลังกว้างเป็นรูปสามเหลี่ยมและเรียวเล็กยาวไปทางหาง เกล็ดเล็กหลุดง่าย ลําตัวจึงแลดูใส ก้านครีบอกบางก้านยื่นยาวมากคล้ายหนวด ขนาดยาวประมาณ๒๕ เซนติเมตร.

  • หางแข็ง

    น. ชื่อปลาทะเลชนิด Megalaspis cordyla ในวงศ์ Carangidae ลำตัวเพรียวแบนข้างเล็กน้อย คอดหางแคบมาก เป็นเหลี่ยมแข็งดูคล้ายขาไก่ เกล็ดเล็กแต่เฉพาะที่อยู่ในแนวเส้นข้างตัวจนถึงข้างหางขยายกว้าง ที่ขอบแผ่นปิดเหงือกมีจุดดำใหญ่ ว่ายน้ำเร็ว อยู่เป็นฝูงใกล้ผิวน้ำ, ขาไก่ แข้งไก่ อีลองหรือ อีโลง ก็เรียก.

  • หางจระเข้

    น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Aloe vera (L.) Burm.f. ในวงศ์ Liliaceae ใบเป็นทางยาวอวบนํ้าขอบใบจัก ปลายใบแหลมคล้ายหางจระเข้ มียางและเมือกจากวุ้นใช้ทํายาได้.

  • หางช้าง

    น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Belamcanda chinensis DC. ในวงศ์ Iridaceaeใบเป็นแผ่นคล้ายพัดด้ามจิ้วหรือขนปลายหางช้าง, ว่านหางช้าง ก็เรียก,อีสานและพายัพเรียก ว่านมีดยับ. (๒) ข้าวฟ่างหางช้าง. (ดู ข้าวฟ่าง ที่ ข้าว).

 


พจนานุกรมไทย-ไทย ออนไลน์

จุดประสงค์ของเว็บ เพื่อสนับสนุนการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามความหมายของแต่ละคำ ขอบคุณข้อมูลจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒