ห้า หมายถึง น. จํานวนสี่บวกหนึ่ง; ชื่อเดือนจันทรคติ เรียกว่า เดือน ๕ ตกในราวเดือนเมษายน.
ว. พลั้งพลาดน่าขายหน้า.
ก. โบราณใช้เป็นกริยาช่วยหมายความว่า พึง, ควร, เช่น 'อันไตรโลกย์หากบูชา' = อันไตรโลกย์พึงบูชา. ว. จาก, แยกออกไปอีกส่วนหนึ่ง, เช่นออกหาก ต่างหาก. สัน. ถ้า, แม้, เช่น หากเธอมาฉันก็จะรอ; เผอิญ เช่นหากอักนิฏฐ์พรหมฉ้วย พี่ไว้จึงคง. (ตำนานเรื่องศรีปราชญ์), หากเดชพระจอมจุมพลป้องบไภยันต์. (บุณโณวาท).
สัน. ถ้าว่า, แม้ว่า, เช่น ฉันจะไปชายทะเลหากว่ามีเวลาว่าง.
น. ส่วนที่ยื่นออกจากส่วนท้ายแห่งลําตัวสัตว์, ขนสัตว์จําพวกนก เช่น กาไก่ ที่ยื่นยาวออกทางก้น; ส่วนท้ายหรือปลาย เช่น หางเชือก หางแถว; ในราชาศัพท์เรียก ปลาช่อนว่า ปลาหาง; ลักษณนามเรียกปลาช่อนตากแห้งเช่น ปลาช่อนหางหนึ่ง ปลาช่อน ๒ หาง; เรียกดาวจรที่ส่วนท้ายมีแสงลักษณะเป็นทางยาวดุจหางว่า ดาวหาง; เรียกของที่คัดหรือกลั่นเอาส่วนที่เป็นหัวออกแล้วว่า หาง เช่น หางเหล้า หางกะทิ หางนํ้านม; ส่วนของตัวหนังสือไทยที่ลากยาวขึ้นทางเบื้องบนหรือทางเบื้องล่าง.
น. ชายผ้านุ่งที่ม้วนแล้วสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว, ชายกระเบน ก็เรียก.
น. ชื่อผ้าชนิดหนึ่งที่ทอด้วยด้ายหรือไหมต่างสี ฟั่นเป็นเกลียวเสียก่อน เมื่อทอแล้วมีลายแลดูดังลายหางกระรอก เรียกว่า ผ้าหางกระรอก.
[-กฺระหฺมวด, -ขะหฺมวด] ว. ที่มีหางกระหมวดปลาย ได้แก่หาง ฬ ฮ.