ห่ากิน หมายถึง ก. ตายเพราะโรคระบาดอย่างร้ายแรง เช่น โรคลงราก (อหิวาตกโรค)กาฬโรค.
ก. เกิดโรคระบาดอย่างร้ายแรงเป็นเหตุให้คนตายจำนวนมาก เช่นโรคลงราก (อหิวาตกโรค) กาฬโรค. (ปาก) น. คนที่มากันเป็นจำนวนมากเช่น งานนี้คนมากันอย่างกับห่าลง.
(โบ) น. หน่วยวัดปริมาณน้ำฝนโดยกำหนดว่า ถ้าตกลงมาเต็มบาตรขนาดกลางที่ตั้งรองไว้กลางแจ้ง เรียกว่า น้ำฝนห่าหนึ่ง; โดยปริยายใช้กับสิ่งที่มาหรือตกลงมาเป็นจำนวนมาก เช่น ฝนตกลงมาห่าใหญ่, บางทีก็ใช้ว่า ห่าฝนเช่น ฝูงเครื่องบินทิ้งระเบิดถล่มข้าศึกเป็นห่าฝน.
น. จํานวนสี่บวกหนึ่ง; ชื่อเดือนจันทรคติ เรียกว่า เดือน ๕ ตกในราวเดือนเมษายน.
ว. พลั้งพลาดน่าขายหน้า.
ก. โบราณใช้เป็นกริยาช่วยหมายความว่า พึง, ควร, เช่น 'อันไตรโลกย์หากบูชา' = อันไตรโลกย์พึงบูชา. ว. จาก, แยกออกไปอีกส่วนหนึ่ง, เช่นออกหาก ต่างหาก. สัน. ถ้า, แม้, เช่น หากเธอมาฉันก็จะรอ; เผอิญ เช่นหากอักนิฏฐ์พรหมฉ้วย พี่ไว้จึงคง. (ตำนานเรื่องศรีปราชญ์), หากเดชพระจอมจุมพลป้องบไภยันต์. (บุณโณวาท).
สัน. ถ้าว่า, แม้ว่า, เช่น ฉันจะไปชายทะเลหากว่ามีเวลาว่าง.
น. ส่วนที่ยื่นออกจากส่วนท้ายแห่งลําตัวสัตว์, ขนสัตว์จําพวกนก เช่น กาไก่ ที่ยื่นยาวออกทางก้น; ส่วนท้ายหรือปลาย เช่น หางเชือก หางแถว; ในราชาศัพท์เรียก ปลาช่อนว่า ปลาหาง; ลักษณนามเรียกปลาช่อนตากแห้งเช่น ปลาช่อนหางหนึ่ง ปลาช่อน ๒ หาง; เรียกดาวจรที่ส่วนท้ายมีแสงลักษณะเป็นทางยาวดุจหางว่า ดาวหาง; เรียกของที่คัดหรือกลั่นเอาส่วนที่เป็นหัวออกแล้วว่า หาง เช่น หางเหล้า หางกะทิ หางนํ้านม; ส่วนของตัวหนังสือไทยที่ลากยาวขึ้นทางเบื้องบนหรือทางเบื้องล่าง.