สบถ หมายถึง [สะบด] ก. เปล่งถ้อยคำเพื่อเน้นให้คนเชื่อโดยอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์ลงโทษตนหรือให้ภัยพิบัติต่าง ๆ เกิดกับตนถ้าหากตนไม่ปฏิบัติตามหรือไม่เป็นไปอย่างที่พูดไว้. (ป. สปถ; ส. ศปถ).
ก. ชอบพอ, โปรดปราน.
ก. ดูถูก.
[สะ] (แบบ) ก. สาบาน. (ป. สปน).
[สะบาย] ว. อยู่ดีกินดี เช่น เดี๋ยวนี้เขาสบายขึ้น ลูก ๆ ทำงานหมดแล้ว, เป็นสุขกายสุขใจ เช่น เวลานี้เขาสบายแล้ว เพราะมีฐานะดีขึ้น ไม่มีวิตกกังวลใด ๆ; สะดวก เช่น ทำตามสบายไม่ต้องเกรงใจ มีรถส่วนตัวสบายกว่าไปรถประจำทาง, มักใช้เข้าคู่กับคำ สุข หรือ สะดวก เป็น สุขสบาย หรือ สะดวกสบาย;พอเหมาะพอดี เช่น เก้าอี้ตัวนี้นั่งสบาย;ไม่ลำบากกาย เช่น เขาทำงานสบายขึ้น ไม่ต้องแบกหามเหมือนเมื่อก่อน; ไม่เจ็บไม่ไข้เช่น เวลานี้เขาสบายดี ไม่ป่วยไข้; มีความพอใจเมื่อได้สัมผัสเช่น สบายหู สบายตา สบายกาย. (ป. สปฺปาย).
ว. ไม่มีทุกข์มีร้อน เช่น ลูก ๆ เรียนจบหมดแล้วก็สบายใจทำงานเสร็จเรียบร้อยแล้วสบายใจ.
ว. มีอารมณ์เบิกบาน เช่น เขาทำงานไปร้องเพลงไปอย่างสบายอารมณ์ วันนี้ขอดูภาพยนตร์ให้สบายอารมณ์สักวัน.
[สะ] น. ชื่อไม้พุ่ม ๒ ชนิดในสกุล Jatropha วงศ์ Euphorbiaceaeคือ สบู่ขาว หรือ สบู่ดํา (J. curcas L.) ก้านใบและใบอ่อนสีเขียวและ สบู่แดง (J. gossypifolia L.) ก้านใบและใบสีแดง, ทั้ง ๒ ชนิดมียางใส เมล็ดนําไปหีบได้นํ้ามันใช้เป็นเชื้อเพลิงและหล่อลื่นทุกส่วนเป็นพิษ.