สำซ่าง หมายถึง น. โรงขนาดเล็กมียกพื้นข้างใน สําหรับพระสงฆ์นั่งสวดพระอภิธรรม อยู่ ๔ มุมเมรุ, คดซ่าง คดสร้าง ซ่าง สร้างหรือ ส้าง ก็เรียก.
ก. แสดง, ทําให้เห็นปรากฏ, เช่น สําแดงฤทธิ์ สําแดงเดชปีศาจสำแดงตน. (แผลงมาจาก แสดง).
น. ของแสลงที่ทำให้โรคกำเริบ, สำแลง ก็ว่า, ใช้ในคำว่าผิดสำแดง หรือ ผิดสำแลง.
คํากล่าวประกอบชื่อผู้อื่นซึ่งปรากฏอยู่เฉพาะหน้า, เป็นสํานวนแปลบาลีเก่า ใช้ในที่ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสกับพระสาวก เช่น สําแดงอานนท์.
ก. ยํ้า, กำชับ, เช่น เขาสั่งให้ทำงานแล้วสำทับว่าต้องเสร็จใน ๓ วัน, ซ้ำเติม เช่น ลูกถูกแม่ตีแล้วพ่อยังสำทับว่าถ้าทำอีกก็จะถูกตีอีก, ขู่ เช่น ผู้ร้ายสำทับว่า อย่าไปบอกตำรวจมิฉะนั้นจะฆ่าปิดปาก.
[สําหฺนวด] (กลอน) ก. สวด. (แผลงมาจาก สวด).
น. ถ้อยคําที่เรียบเรียง, โวหาร, บางทีก็ใช้ว่า สํานวนโวหารเช่น สารคดีเรื่องนี้สํานวนโวหารดี ความเรียงเรื่องนี้สํานวนโวหารลุ่ม ๆ ดอน ๆ; คดี เช่น ปิดสำนวน; ถ้อยคําหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายไม่ตรงตามตัวหรือมีความหมายอื่น แฝงอยู่ เช่น สอนจระเข้ให้ว่ายนํ้ารําไม่ดีโทษปี่โทษกลอง, ถ้อยคําที่แสดงออกมาเป็นข้อความพิเศษ เฉพาะภาษาหนึ่ง ๆ เช่น สํานวนฝรั่ง สํานวนบาลี,ชั้นเชิงหรือท่วงทํานองในการแต่งหนังสือหรือพูด เช่น สํานวนเจ้าพระยาพระคลัง (หน) สํานวนยาขอบ สํานวนไม้ เมืองเดิม;ลักษณนามใช้เรียกข้อความหรือบทประพันธ์รายหนึ่ง ๆ เช่นอิเหนามีหลายสํานวน บทความ ๒ สํานวน.
(กฎ) น. บรรดาคําคู่ความและเอกสารหรือแผ่นกระดาษไม่ว่าอย่างใด ๆ ที่คู่ความหรือศาลหรือเจ้าพนักงานศาลได้ทําขึ้น ซึ่งประกอบเป็นสํานวนของคดี.