สถานภาพ หมายถึง น. ฐานะ เช่น ราชบัณฑิตยสถานมีสถานภาพเป็นแหล่งค้นคว้าและบำรุงสรรพวิชา; ตําแหน่งหรือเกียรติยศของบุคคลที่ปรากฏในสังคม เช่น เขามีสถานภาพเป็นผู้เชี่ยวชาญทางโบราณคดี;สิทธิหน้าที่ตามบทบาทของบุคคล เช่น เขามีสถานภาพทางครอบครัวเป็นบิดา.
[สะถานี] น. หน่วยที่ตั้งเป็นที่พักหรือที่ทําการ เช่น สถานีตํารวจ สถานีรถไฟ สถานีตรวจอากาศ สถานีขนส่ง; ฐานส่งกำลังบำรุงของกองทัพเรือที่ประจำอยู่บนบก มีฐานใหญ่ ๆ๓ แห่ง เรียกว่าสถานีทหารเรือ คือ สถานีทหารเรือกรุงเทพสถานีทหารเรือสงขลาสถานีทหารเรือพังงา, ฐานส่งกำลังบำรุงหน่วยย่อยสำหรับการปฏิบัติการตามลำแม่น้ำโขงเรียกว่า สถานีเรือ เช่น สถานีเรือ อำเภอเชียงคาน สถานีเรืออำเภอโขงเจียม สถานีเรืออำเภอธาตุพนม; ตำแหน่งของเรือขณะอยู่ในรูปกระบวน เช่น เรือ ก รักษาสถานีทางขวาของเรือ ข ระยะ ๕๐๐ หลา; ที่ที่กำหนดให้ทหารเรือประจำเพื่อปฏิบัติการตามภารกิจต่าง ๆ เช่น สถานีรบ สถานีจอดเรือ สถานีออกเรือ สถานีช่วยคนตกน้ำ สถานีรับส่งสิ่งของทางทะเล; ที่ที่มีหน่วยปฏิบัติการเฉพาะ เช่น สถานีสื่อสารดาวเทียม สถานีสมุทรศาสตร์สถานีตรวจอากาศ.
น. สถานบริการสาธารณสุขที่ไม่มีแพทย์ประจำ ให้บริการสาธารณสุขทุกสาขาและส่งเสริมป้องกันด้านอนามัยแก่ประชาชนในระดับตำบลและหมู่บ้าน, เดิมเรียกว่า สุขศาลา.
[สะ] (โบ) ก. สร้าง. (จารึกสยาม). (ส. สฺถาปก ว่า ผู้ตั้ง, ผู้สร้าง).
[สะ] (สังคม) น. สิ่งซึ่งคนในส่วนรวม คือ สังคม จัดตั้งให้มีขึ้นเพราะเห็นประโยชน์ว่ามีความต้องการและจําเป็นแก่วิถีชีวิตของตน เช่น สถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์สถาบันการศึกษา สถาบันการเมือง สถาบันการเงิน. (ส.).
[สะถาปะนา] ก. ยกย่องโดยแต่งตั้งให้สูงขึ้นเช่นเลื่อนเจ้านายให้สูงศักดิ์ขึ้น หรือยกวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวง, ตั้งขึ้น (มักใช้แก่หน่วยราชการหรือองค์การที่สําคัญ ๆ ในระดับกระทรวง ทบวงมหาวิทยาลัย)เช่น วันสถาปนากระทรวงมหาดไทย วันสถาปนาราชบัณฑิตยสถานวันสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (ส. สฺถาปน; ป. ?าปน).
[สะถาปะ] น. ผู้ทรงคุณวุฒิในการสร้างสรรค์ทางออกแบบก่อสร้าง. (ส.).
[นียะ] น. การจําแนกธรรมหรือพยากรณ์ปัญหาธรรมโดยอาการนิ่ง.