ค้นหาคำศัพท์แบบเร่งด่วน


 

  • ความหมายของคำว่า ' สามัญสำนึก '

    สามัญสำนึก  หมายถึง น. ความสำนึกหรือความเฉลียวใจที่คนปรกติธรรมดาทั่วไปควรจะต้องรู้โดยไม่จำเป็นต้องได้รับคำแนะนำสั่งสอน เช่นทำอะไรให้มีสามัญสำนึกเสียบ้างว่าอะไรควรอะไรไม่ควร.

advertisement

 

คำที่ใกล้เคียงกัน

  • สามัตถิยะ

    น. ความสามารถ, อํานาจ, ความแข็งแรง. (ป. สมตฺถิย;ส. สามารฺถฺย).

  • สามะ

    น. สีดํา, สีนิล. (ป.; ส. ศฺยาม).

  • สามานย–

    [สามานนะยะ–, สามานยะ–] ว. ปรกติ, ธรรมดา, เช่น สามานยนาม.(ส. สามานฺย; ป. สาม?ฺ?).

  • สามานยนาม

    [สามานยะ–] (ไว) น. คํานามที่เป็นชื่อทั่วไปของคน สัตว์ และสิ่งของ เช่น เด็ก นก หนังสือ ลม ใจ.

  • สามานย์

    ว. เลวทรามตํ่าช้า เช่น ลูกสามานย์ทำร้ายพ่อแม่, มักใช้เข้าคู่กับคำ ชั่วช้า เป็น ชั่วช้าสามานย์. (ส. สามานฺย).

  • สามารถ

    [สามาด] เป็นคำช่วยกริยาบอกว่ามีคุณสมบัติที่จะทำได้ เช่นเขาสามารถเดินได้ชั่วโมงละ ๕ กิโลเมตร เพื่อนฉันสามารถขี่จักรยานไต่ลวดได้. ว. มีคุณสมบัติที่จะทำได้ โดยเฉพาะทางความรู้หรือความชำนาญเป็นต้น เช่น ลูกเขาเป็นคนสามารถเรียนอะไรก็เรียนได้. (ส. สมรฺถ; ป. สมตฺถ).

  • สามิกะ

    น. เจ้าของ; ผัว. (ป.).

 


พจนานุกรมไทย-ไทย ออนไลน์

จุดประสงค์ของเว็บ เพื่อสนับสนุนการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามความหมายของแต่ละคำ ขอบคุณข้อมูลจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒