สันสกฤต หมายถึง [สะกฺริด] น. ชื่อภาษาในตระกูลอินเดียยุโรป ซึ่งมีใช้ในวรรณคดีอินเดียโบราณ เช่น คัมภีร์ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท ต่อมาใช้ในวรรณคดีของพราหมณ์โดยทั่วไป และในคัมภีร์พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน, ใช้ว่าสังสกฤต ก็มี. ว. ที่ทำให้ดีพร้อมแล้ว, ที่ทำให้ประณีตแล้ว, ที่ขัดเกลาแล้ว. (ส. สํสฺกฤต; ป. สกฺกฏ).
ก. เอาของมีคมเช่นมีดหรือขวานฟันลงไปโดยแรงหรือซอยถี่ ๆ เช่นสับกระดูกหมู สับมะละกอ, กิริยาที่เอาสิ่งมีปลายงอนหรือปลายแหลมเจาะลงไป เช่น เอาขอสับช้าง, เอาสิ่งที่เป็นขอเกี่ยวเข้าไว้ เช่น สับขอหน้าต่าง, โดยปริยายหมายถึงอาการที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่นสับด้วยสันมือ ถูกโขกถูกสับ; ทําเชือกให้เข้าเกลียวตั้งแต่ ๓ เกลียวขึ้นไปให้เขม็งแน่น เรียกว่า สับเชือก; เปลี่ยนแทนที่กัน เช่น วางของสับที่ใส่รองเท้าสับข้าง เต้นรำสับคู่ สับตัวจำเลย.
ก. เอาเชือก ๒ เส้นฟั่นควบเป็นเส้นเดียวกัน แล้วเอาเชือกเส้นที่ ๓ซึ่งเขม็งแล้วควบเข้าไประหว่างเชือก ๒ เส้นนั้นโดยคลายเกลียวที่ปลายเชือก ๒ เส้นแรกเล็กน้อย เพื่อให้เชือกเส้นที่ ๓ สอดควบเข้าด้วยกันได้จนตลอด.
ก. เอาเชือก ๒ เส้นฟั่นควบเป็นเส้นเดียวกัน แล้วเอาเชือกเส้นที่ ๓ซึ่งเขม็งแล้วควบเข้าไประหว่างเชือก ๒ เส้นนั้นโดยคลายเกลียวที่ปลายเชือก ๒ เส้นแรกเล็กน้อย เพื่อให้เชือกเส้นที่ ๓ สอดควบเข้าด้วยกันได้จนตลอด.
ก. ดุด่าว่าให้เจ็บใจอยู่เสมอ ๆ, โขกสับ ก็ว่า.
ว. สัปหงก, อาการที่หน้าหงุบลงเพราะง่วงนอน.
ว. เรียกแกงเผ็ดชนิดหนึ่ง ใช้ปลาตัวเล็ก ๆ สับละเอียดทั้งเนื้อและก้างว่า แกงสับนก.
ก. เปลี่ยนแทนที่กัน เช่น สับเปลี่ยนตําแหน่ง.