ค้นหาคำศัพท์แบบเร่งด่วน


 

  • ความหมายของคำว่า ' ศาล '

    ศาล  หมายถึง [สาน] น. (กฎ) องค์กรที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดีโดยดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมายและในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ได้แก่ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครองและศาลทหาร; ที่ชำระความ เช่น ศาลแพ่ง ศาลอาญา; ที่สิงสถิตของเทวดา เทพารักษ์ หรือเจ้าผี เป็นต้น เช่น ศาลเทพารักษ์ศาลเจ้าศาลเจ้าแม่ทับทิม.

advertisement

 

คำที่ใกล้เคียงกัน

  • ศาลกงสุล

    (เลิก) น. ศาลของประเทศที่มีสิทธิสภาพนอกอาณาเขตที่ตั้งขึ้นในอีกประเทศหนึ่ง เพื่อให้กงสุลเป็นผู้พิจารณาคดีคนในบังคับของตน.

  • ศาลแขวง

    (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีและมีอํานาจไต่สวนหรือมีคําสั่งใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ระบุไว้ในพระธรรมนูญศาลยุติธรรม.

  • ศาลคดีเด็กและเยาวชน

    (กฎ; เลิก) ดู ศาลเยาวชนและครอบครัว.

  • ศาลจังหวัด

    (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นที่ตั้งประจําในแต่ละจังหวัดหรือในบางอําเภอ มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญาทั้งปวงที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมอื่นในเขตอํานาจศาลตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดนั้นได้กําหนดไว้.

  • ศาลชั้นต้น

    (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีในชั้นต้นทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา และคดีตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดไว้ ได้แก่ ศาลแขวงศาลจังหวัด ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรีศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี และศาลยุติธรรมอื่น เช่น ศาลภาษีอากรกลาง.

  • ศาลฎีกา

    (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นสูงสุดซึ่งมีอํานาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค และคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยตรงต่อศาลฎีกาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์หรือฎีกา และคดีที่กฎหมายอื่นบัญญัติให้ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาพิพากษา รวมทั้งมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดหรือสั่งคำร้องคำขอที่ยื่นต่อศาลฎีกาตามกฎหมาย.

  • ศาลเตี้ย

    ปาก) น. เรียกการที่คนหรือกลุ่มคนที่ไม่มีอำนาจดำเนินคดีตามกฎหมายจับกุมคนมาชำระตัดสินความโดยพลการว่า ตั้งศาลเตี้ย.

 


พจนานุกรมไทย-ไทย ออนไลน์

จุดประสงค์ของเว็บ เพื่อสนับสนุนการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามความหมายของแต่ละคำ ขอบคุณข้อมูลจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒