ค้นหาคำศัพท์แบบเร่งด่วน


 

  • ความหมายของคำว่า ' วิดพื้น '

    วิดพื้น  หมายถึง (ปาก) น. ท่ากายบริหารอย่างหนึ่งมี ๒ แบบ แบบหนึ่งเริ่มด้วยท่านอนทอดตัวลงเกือบถึงพื้น มือและปลายเท้าทั้ง ๒ ข้างยันพื้นไว้ งอแขนให้ศอกแนบลำตัว หน้าเงย แล้วเหยียดแขนพร้อมกับยกตัวขึ้น แล้วงอแขนพร้อมทั้งลดตัวลงกลับไปอยู่ในท่าเดิมอีกแบบหนึ่งเริ่มด้วยท่านอน มือและปลายเท้าทั้ง ๒ ข้างยันพื้นไว้แขนเหยียดตรง หน้าเงย แล้วงอแขนให้ศอกแนบลำตัวพร้อมกับทอดตัวลงเกือบถึงพื้น แล้วเหยียดแขนพร้อมทั้งยกตัวขึ้นกลับไปอยู่ในท่าเดิม, เรียกเป็นทางการว่า ยุบข้อ 3.

advertisement

 

คำที่ใกล้เคียงกัน

  • วิดัสดี

    [วิดัดสะดี] น. วิทัตถิ, คืบหนึ่ง. (ส. วิตสฺติ; ป. วิทตฺถิ).

  • วิตก, วิตก

    [วิตกกะ, วิตก] ก. เป็นทุกข์, ร้อนใจ, กังวล, เช่น วิตกว่าจะเกิดสงคราม, มักใช้เข้าคู่กับคำกังวล เป็น วิตกกังวล เช่น อย่าวิตกกังวลไปนักเลยพรุ่งนี้สถานการณ์คงจะดีขึ้น. น. ความตรึก, ความตริ,ความคิด. (ป. วิตกฺก; ส. วิตรฺก ว่า ลังเลใจ).

  • วิตก, วิตก

    [วิตกกะ, วิตก] ก. เป็นทุกข์, ร้อนใจ, กังวล, เช่น วิตกว่าจะเกิดสงคราม, มักใช้เข้าคู่กับคำกังวล เป็น วิตกกังวล เช่น อย่าวิตกกังวลไปนักเลยพรุ่งนี้สถานการณ์คงจะดีขึ้น. น. ความตรึก, ความตริ,ความคิด. (ป. วิตกฺก; ส. วิตรฺก ว่า ลังเลใจ).

  • วิตกจริต

    [วิตกกะจะหฺริด, วิตกจะหฺริด] ว. มีนิสัยคิดไปในทางร้ายทางเสีย. (ป.).

  • วิตถาร

    [วิดถาน] ว. กว้างขวาง, มากเกินไป, พิสดาร. (ป.; ส. วิสฺตาร);นอกแบบ, นอกทาง, (เกินวิสัยปรกติ) เช่น พวกเด็ก ๆ ชอบเล่นวิตถาร เอาน้ำสกปรกผสมแป้งสาดเข้าไปในรถประจำทางในวันสงกรานต์.

  • วิตามิน

    น. กลุ่มสารอินทรีย์ซึ่งเป็นสารอาหารจําเป็นที่ร่างกายต้องการแต่เพียงจํานวนน้อย ๆ และจะขาดไม่ได้ หากขาดจะทําให้อวัยวะในร่างกายทํางานผิดปรกติและเกิดโรคได้ สารกลุ่มนี้มีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย บํารุงผิวพรรณ เหงือก ผม ตา และช่วยต้านทานโรค แบ่งเป็น ๒ พวกใหญ่ คือ พวกที่ละลายได้ในไขมันเช่น วิตามินเอ วิตามินดี และพวกที่ 'ละลายได้ในน้ำ เช่น วิตามินบีวิตามินซี, ใช้ว่า วิตะมิน หรือ ไวตามิน ก็มี. (อ. vitamin).

  • วิถี

    น. สาย, แนว, ถนน, ทาง, มักใช้ประกอบกับคําอื่น เช่น วิถีทาง วิถีชีวิต บาทวิถี. (ป., ส. วีถิ).

 


พจนานุกรมไทย-ไทย ออนไลน์

จุดประสงค์ของเว็บ เพื่อสนับสนุนการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามความหมายของแต่ละคำ ขอบคุณข้อมูลจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒