ละครชวนหัว หมายถึง น. ละครพูดประเภทขำขัน.
น. ละครต้นแบบของละครรำ เล่นกันเป็นพื้นบ้านทั่วไปมีตัวละครน้อย เดิมเป็นชายล้วน ตัวละครที่ไม่สำคัญมักไม่แต่งตัวยืนเครื่อง กระบวนรำไม่สู้งดงามประณีตนัก.
น. ละครแบบหนึ่ง ดำเนินเรื่องรวดเร็ว มีการตกแต่งฉากที่คล้ายของจริง ไม่มีบทบรรยายฉาก บรรยายกิริยาอาการของตัวละครตัวละครร้องและเจรจาบทของตนเอง และใช้ดนตรีที่ปรับปรุงตามแบบคอนเสิร์ตของฝรั่ง ฉากสุดท้ายจะงดงามสง่าภาคภูมิ เช่นละครดึกดำบรรพ์เรื่องอิเหนา เรื่องคาวี, ชื่อดึกดำบรรพ์มาจากชื่อโรงละครของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน กุญชร).
น. ละครพูดที่แสดงทางโทรทัศน์ มีการตกแต่งฉากให้เหมือนจริง.
น. ละครรำแบบหนึ่ง ปรับปรุงให้ดีขึ้นจากละครชาตรี ในชั้นต้นตัวละครเป็นชายล้วน ภายหลังหญิงชายแสดงปนกัน มีบทเจรจา การแสดงพลิกแพลงนอกเรื่องได้ไม่ต้องรักษาระเบียบแบบแผนนัก แสดงได้ทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องที่ละครในใช้แสดง.
น. ละครรำแบบหนึ่ง เดิมมีเฉพาะของพระมหากษัตริย์ ตัวละครเป็นหญิงล้วน เครื่องแต่งตัวและกระบวนรำประณีตงดงาม ดนตรีไพเราะ แสดงเฉพาะ ๔ เรื่อง คือ อิเหนา ดาหลัง รามเกียรติ์ และอุณรุท.
น. ละครแบบหนึ่ง ดัดแปลงจากละครรำแบบเดิม ตัวละครพูดบทของตนเอง มักแสดงเรื่องแต่งจากพงศาวดารชาติต่าง ๆ มีท่ารำ สำเนียงเจรจา และทำนองเพลงตามชาตินั้น ๆ เช่น ละครพันทางเรื่องราชาธิราช เรื่องพระลอ เรื่องขุนช้างขุนแผน (ตอนพระไวยแตกทัพ) เรื่องเลือดสุพรรณ.
น. ละครแบบหนึ่ง รับอิทธิพลจากละครแบบยุโรป ตัวละครพูดบทของตนในการดำเนินเรื่อง อาจพูดเป็นถ้อยคำธรรมดา คำกลอนคำฉันท์ มีการจัดฉากและแต่งกายตามสมัยที่ปรากฏในเรื่อง เช่นละครพูดเรื่องหัวใจนักรบ ละครพูดคำกลอนเรื่องพระร่วง ละครพูดคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธา.