ค้นหาคำศัพท์แบบเร่งด่วน


 

  • ความหมายของคำว่า ' ละขัดละขืน '

    ละขัดละขืน  หมายถึง (กลอน) ก. ขัดขืน; ห้าวหาญ.

advertisement

 

คำที่ใกล้เคียงกัน

  • ละคร

    [–คอน] น. การแสดงประเภทหนึ่ง ผู้แสดงเรียกว่า ตัวละคร มีเวทีหรือสถานที่ใช้ในการแสดง มีบทให้ตัวละครแสดงตามเนื้อเรื่องโดยมากมีดนตรีประกอบ มีลักษณะแตกต่างกันออกไปหลายชนิด;การเล่นที่ใช้สัตว์เป็นตัวแสดง เช่น ละครลิง ละครสัตว์, โดยปริยายหมายถึงความเป็นไปของชีวิต เช่น ละครชีวิต โลกคือละครโรงใหญ่.

  • ละครแก้บน

    น. ละครชาตรีตอนสั้น ๆ ที่จัดแสดงแก้บน.

  • ละครชวนหัว

    น. ละครพูดประเภทขำขัน.

  • ละครชาตรี

    น. ละครต้นแบบของละครรำ เล่นกันเป็นพื้นบ้านทั่วไปมีตัวละครน้อย เดิมเป็นชายล้วน ตัวละครที่ไม่สำคัญมักไม่แต่งตัวยืนเครื่อง กระบวนรำไม่สู้งดงามประณีตนัก.

  • ละครดึกดำบรรพ์

    น. ละครแบบหนึ่ง ดำเนินเรื่องรวดเร็ว มีการตกแต่งฉากที่คล้ายของจริง ไม่มีบทบรรยายฉาก บรรยายกิริยาอาการของตัวละครตัวละครร้องและเจรจาบทของตนเอง และใช้ดนตรีที่ปรับปรุงตามแบบคอนเสิร์ตของฝรั่ง ฉากสุดท้ายจะงดงามสง่าภาคภูมิ เช่นละครดึกดำบรรพ์เรื่องอิเหนา เรื่องคาวี, ชื่อดึกดำบรรพ์มาจากชื่อโรงละครของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน กุญชร).

  • ละครโทรทัศน์

    น. ละครพูดที่แสดงทางโทรทัศน์ มีการตกแต่งฉากให้เหมือนจริง.

  • ละครนอก

    น. ละครรำแบบหนึ่ง ปรับปรุงให้ดีขึ้นจากละครชาตรี ในชั้นต้นตัวละครเป็นชายล้วน ภายหลังหญิงชายแสดงปนกัน มีบทเจรจา การแสดงพลิกแพลงนอกเรื่องได้ไม่ต้องรักษาระเบียบแบบแผนนัก แสดงได้ทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องที่ละครในใช้แสดง.

 


พจนานุกรมไทย-ไทย ออนไลน์

จุดประสงค์ของเว็บ เพื่อสนับสนุนการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามความหมายของแต่ละคำ ขอบคุณข้อมูลจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒