ระนาด ๑ หมายถึง น. เครื่องปี่พาทย์ชนิดตี ประกอบด้วยลูกระนาดทำด้วยไม้ร้อยเชือกหัวท้ายเข้าเป็นผืนใช้แขวนบนรางระนาด หรือทำด้วยเหล็กหรือทองเหลืองใช้วางเรียงบนรางระนาดมีไม้ประกับหัวท้าย ลูกระนาดเรียงขนาดสั้นยาวให้ลดหลั่นกันตามลำดับเสียง มีตั้งแต่ ๑๗–๒๑ ลูก มีไม้ตีคู่หนึ่งเรียกว่า ไม้ตีระนาด, ลักษณนามว่า ราง.
น. ระนาดที่ลูกทําด้วยแก้ววางเรียงบนรางระนาดซึ่งมีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนานกับพื้น มีไม้ประกับหัวท้าย มีทั้งระนาดแก้วทุ้มและระนาดแก้วเอก ระนาดแก้วทุ้มไม้ตีใช้ไม้นวม ระนาดแก้วเอกใช้ไม้ตีที่มีลูกทำด้วยหนัง.
น. ระนาดที่มีเสียงต่ำกว่าและมีเสียงนุ่มนวลกว่าระนาดเอกลูกระนาดเช่นเดียวกับระนาดเอกแต่ใหญ่และยาวกว่า มี ๑๗ ลูก ปากรางระนาดเว้าโค้งขึ้นคล้ายปากเปลญวนด้านล่างตัดตรงขนานกับพื้นมีเท้าเล็ก ๆ ตรงมุม ๔ เท้า ไม้ตีใช้แต่ไม้นวมอย่างเดียว.
น. ระนาดที่มีเสียงแกร่งกว่าระนาดทุ้ม ลูกระนาดโดยมากทำด้วยไม้ไผ่บง ไม้ชิงชัน หรือไม้มะหาด ฝานหัวท้ายและท้องตอนกลางโดยปรกติมี ๒๑ ลูก รางระนาดมีรูปทรงคล้ายเปลญวน หัวตัดท้ายตัดมีเท้ารูปสี่เหลี่ยมคล้ายเชิงขันรับอยู่ใต้รางสำหรับตั้ง ไม้ตีมี ๒ อย่าง คือไม้แข็งใช้เมื่อต้องการเสียงแกร่งกร้าว และไม้นวมเมื่อต้องการเสียงเบาและนุ่มนวล.
น. ไม้ไผ่ที่ถักอย่างเรือกสําหรับรองท้องเรือ.
ว. อาการที่ล้มทับกัน, อาการที่เรียงกันเป็นแถว, มักใช้เข้าคู่กับคำระเนและ ระเนน เป็น ระเนระนาด และ ระเนนระนาด.
(กลอน) ว. ราบ; ที่แบนเรียบ (ใช้แก่ผิว). น. พื้นที่ที่แบนเรียบ; (คณิต)เซตของบรรดาจุดที่เรียงต่อเนื่องกันเป็นพื้นราบสมํ่าเสมอ. (อ. plane).
น. สิ่งที่มีพื้นแบนเรียบเอียงทํามุมแหลมกับพื้นระดับใช้ประโยชน์เป็นเครื่องกลอย่างง่ายสําหรับเลื่อนเทหวัตถุหนักไปสู่ระดับที่ต้องการโดยที่สามารถพักเทหวัตถุนั้นได้เป็นระยะ ๆ.