ยักยอก หมายถึง ก. เอาทรัพย์ของผู้อื่นที่อยู่ในความดูแลรักษาของตนไปโดยทุจริต, ใช้เพียง ยัก คําเดียว ก็มี. (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานเบียดบังเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ที่อยู่ในความครอบครองมาเป็นของตนหรือของบุคคลที่สามโดยทุจริต เรียกว่าความผิดฐานยักยอก.
ก. เปลี่ยนที่เสีย หรือนําไปไว้เสียที่อื่น, ยักย้ายถ่ายเท ก็ว่า, ใช้เพียงยัก คําเดียว ก็มี.
น. ลักยิ้ม.
ว. เลี่ยงไป, ไม่ตรงไปตรงมา, เช่น ถามเรื่องหนึ่ง แต่พูดยักเยื้องไปตอบอีกเรื่องหนึ่ง, ดัดแปลง เช่น ทํายักเยื้อง, เยื้องยัก ก็ว่า.
น. รอยบุ๋มที่สะบักทั้ง ๒ ข้าง ถือว่าเป็นลักษณะไม่ดีสําหรับหญิง ๑ ใน ๓ อย่าง คือ สีจัก ยักหล่ม ถ่มร้าย, มักใช้เข้าคู่กับ ถ่มร้ายเป็น ยักหล่มถ่มร้าย.
ก. เอียงตัวท่อนบนไปข้างใดข้างหนึ่ง ส่วนลำตัวท่อนล่างตั้งตรงเป็นท่าประกอบการรำไทยท่าหนึ่ง.
(ปาก) ว. คําประกอบกริยาในประโยคปฏิเสธแสดงความผิดคาด เช่นไม่ยักจริง ว่าจะมาแล้วไม่ยักมา.
น. ยักษ์. (ป.; ส. ยกฺษ).