ค้นหาคำศัพท์แบบเร่งด่วน


 

  • ความหมายของคำว่า ' ภาษาราชการ '

    ภาษาราชการ  หมายถึง น. ภาษาที่ใช้สื่อสารในราชการและวิชาการเป็นต้น เช่น จดหมายติดต่อราชการ รายงานการประชุมของหน่วยงาน รายงานการวิจัยรายงานวิชาการสาขาต่าง ๆ, ภาษาระดับทางการ หรือ ภาษากึ่งแบบแผน ก็เรียก; ภาษาที่รัฐบาลประกาศให้ใช้เป็นทางราชการ เช่นประเทศไทยใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ ประเทศสิงคโปร์ใช้ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาฮินดี และภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ.

advertisement

 

คำที่ใกล้เคียงกัน

  • ภาษาศาสตร์

    น. วิชาที่ศึกษาภาษาในแง่ต่าง ๆ เช่น เสียง โครงสร้าง ความหมายโดยอาศัยวิธีการวิทยาศาสตร์ เช่น มีการตั้งสมมุติฐาน เก็บและวิเคราะห์ข้อมูลแล้วสรุปผล.

  • ภาษิต

    น. ถ้อยคําหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายเป็นคติ เช่น กงเกวียนกําเกวียน. (ส.).

  • ภาษี

    น. เงินที่รัฐหรือท้องถิ่นเรียกเก็บจากบุคคล เพื่อใช้จ่ายในการบริหารประเทศหรือท้องถิ่น เช่น ภาษีเงินได้ ภาษีบํารุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีมูลค่าเพิ่ม; ความได้เปรียบ เช่น เขามีภาษีกว่า.

  • ภาษีเงินได้

    น. ภาษีที่เรียกเก็บจากบุคคลที่ได้รับเงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่น ซึ่งอาจคิดคํานวณได้เป็นเงิน.

  • ภาษีบำรุงท้องที่

    (กฎ) น. ภาษีซึ่งบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือครอบครองอยู่ในที่ดินที่ไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน มีหน้าที่ต้องเสียเป็นรายปีจากราคาปานกลางของที่ดินตามที่ทางราชการได้ประกาศกําหนดไว้ เพื่อให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นซึ่งที่ดินนั้นอยู่ในเขต.

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม

    (กฎ) น. ภาษีทางอ้อมประเภทหนึ่งที่เรียกเก็บจากบุคคลที่ซื้อสินค้าหรือรับบริการ โดยจัดเก็บเฉพาะจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนของการผลิต การจําหน่าย หรือการให้บริการ ตัวอย่างเช่น ซื้อวัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์มา ๑๐๐ บาท ผลิตเป็นสินค้าขายในราคา ๑๕๐บาท ดังนี้ ก็จะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเฉพาะผลต่างจํานวน ๕๐ บาทเท่านั้น. (อ. value-added tax).

  • ภาษีโรงเรือนและที่ดิน

    (กฎ) น. ภาษีที่เรียกเก็บจากผู้รับประเมินผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นปีละครั้งตามค่ารายปีของทรัพย์สินนั้น.

 


พจนานุกรมไทย-ไทย ออนไลน์

จุดประสงค์ของเว็บ เพื่อสนับสนุนการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามความหมายของแต่ละคำ ขอบคุณข้อมูลจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒