ค้นหาคำศัพท์แบบเร่งด่วน


 

  • ความหมายของคำว่า ' พานพระขันหมาก, พระขันหมาก '

    พานพระขันหมาก, พระขันหมาก  หมายถึง (โบ; ราชา) น. พานมีรูปทรงคล้ายพานแว่นฟ้า ทำด้วยทองคำจำหลักลวดลายลงยาสี เป็นเครื่องราชูปโภค ใช้เฉพาะพระเจ้าแผ่นดินในพานประกอบด้วย ตลับพู่ใส่ขี้ผึ้ง ๑ มังสี ๒ สำหรับใส่หมากเจียน ๑ หมากทั้งลูก ๑ซองพลู ๒ สำหรับใส่พลูจีบ ๑ พลูทั้งใบ ๑ ตลับใส่กระวาน ๑ ตลับใส่ยาฝอย ๑ และพระแสงกรรบิด๑, พานพระศรี ก็ว่า.

advertisement

 

คำที่ใกล้เคียงกัน

  • พานพระศรี

    (ราชา) น. พานใส่หมากพลูของพระเจ้าแผ่นดิน, โบราณเรียกพานพระขันหมาก หรือ พระขันหมาก.

  • พานแว่นฟ้า

    น. พานที่ซ้อนกัน ๒ ชั้น ชนิดหนึ่งประดับมุกหรือกระจกเป็นต้นใบบนเป็นพานทรงสูงซ้อนกันอยู่บนตะลุ่ม อีกชนิดหนึ่งทําด้วยโลหะจําหลักลายกะไหล่ทอง ใบบนเป็นพานเล็กซ้อนอยู่บนพานใหญ่.

  • พาน ๒

    น. ตอน, บั้น, (ใช้แก่สิ่งของบางชนิด) เช่น พานท้ายปืน พานท้ายเรือ.

  • พาน ๓

    น. ฐานของนมหรือเต้านมเกิดเป็นไตแข็งขึ้นเริ่มอาการแห่งความเป็นหนุ่มสาว, เรียกอาการของนมหรือเต้านมที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า นมขึ้นพาน หรือ นมแตกพาน.

  • พาน ๔

    ว. ทำท่าว่า เช่น พานจะเป็นลม พานจะตาย พานจะโกรธ, พี่ก็พานแก่ชราหูตามัว. (สังข์ทอง).

  • พาน ๕

    ก. พบปะ มักใช้เข้าคู่กับคํา พบ เป็น พบพาน หรือ พานพบ, เช่นไม่ได้พบพานเสียนาน; ขวาง, กีดขวาง, ขึงขวาง, เช่น เอาเชือกมาพานไว้ เมื่อคนมาปะทะก็จะล้มลง, กั้นไว้ เช่น พานคนข้างหลังไว้,ระให้หมดไป เช่น เอาไม้กวาดพานหยากไย่.

  • พ่าน

    ว. พล่าน, พลุกพล่าน, ไม่เป็นระเบียบ.

 


พจนานุกรมไทย-ไทย ออนไลน์

จุดประสงค์ของเว็บ เพื่อสนับสนุนการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามความหมายของแต่ละคำ ขอบคุณข้อมูลจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒