ผูก หมายถึง ก. เอาเชือกเป็นต้นสอดคล้องกันให้เกิดเป็นเงื่อน เพื่อทําให้มั่นหรือติดต่อกันในตัวหรือกับสิ่งอื่น เช่น ผูกเชือก ผูกลวด ผูกโบ, ติดต่อหรือติดพันกันแน่นกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ผูกใจ ผูกโกรธ ผูกมิตร,ประกอบเข้า เช่น ผูกประโยค ผูกปริศนา ผูกลาย, ติดพันกันด้วยเรื่องสิทธิและหน้าที่ตามที่ตกลงกัน เช่น ผูกตลาด ผูกท่า; คุ้มครอง(ใช้ในการเล่นหมากรุก) เช่น เอาม้าผูกโคน เอาเรือผูกม้า; ขมวดเช่น ผูกคิ้วนิ่วหน้าไม่พาที. (นิ. นรินทร์); จอง เช่นผูกเวร; ตรงข้ามกับ แก้. น. ลักษณนามเรียกหนังสือใบลานที่ร้อยหูไว้มัดหนึ่ง ๆว่า คัมภีร์เทศนาผูกหนึ่ง.
ก. ทอดสะพานเข้าไปสืบข่าว เช่น ก็ให้ผูกกระไดข่าวคอย. (ลอ).
ก. เอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียกขวัญว่า 'ขวัญเอ๋ยมาอยู่กับเนื้อกับตัว' แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามสมควร.
ก. สงวนสิทธิไว้แต่ผู้เดียว.
(โหร) ก. นําเครื่องหมายแทนพระเคราะห์มี อาทิตย์ จันทร์ อังคารพุธ เสาร์ พฤหัสบดี ศุกร์ เป็นต้น บรรจุลงในดวงตามช่องจักรราศีทั้ง ๑๒ ที่โคจรมาสถิตตามวัน เดือน ปี และเวลาตกฟากของเจ้าของชะตานั้น ดูว่าอาทิตย์ตกอยู่ในราศีใด แล้วเอาองศาอาทิตย์ของวันเกิดเจ้าของชะตามาคํานวณว่า เมื่อเวลา ๖.๐๐ นาฬิกา อาทิตย์อยู่ในราศีดังกล่าวมาแล้วนานเท่าใด เรียกว่า อดีตอุทัย และเวลาเหลืออีกนานเท่าใดจึงจะพ้นไปจากราศีนั้น เรียกว่า อนาคตอุทัยแล้วเอาเวลาตกฟากตั้งลบด้วย ๖.๐๐ นาฬิกา และอนาคตอุทัยต่อไปเอาอันโตนาทีของราศีถัด ๆ ไปลบทีละราศี ถ้าเวลาหรือเลขที่เหลือไม่พอให้อันโตนาทีของราศีใดลบได้ ลัคนาก็อยู่ที่ราศีนั้นการผูกดวงนี้เพื่อทํานายโชคชะตาเป็นต้น.
(โบ) ก. ทําหนังสือสัญญาเป็นลูกจ้างรับเงินล่วงหน้าแล้วให้ดอกเบี้ยแทนรับใช้การงาน.
ก. ว่าจ้างให้ทำอาหารใส่ปิ่นโตส่งให้ตามที่ตกลงกัน, (ปาก) ว่าปิ่นโต,กินปิ่นโต ก็ว่า.
น. เรียกพิธีสังฆกรรมที่สงฆ์กําหนดเขตแดนขึ้น โดยมีหินเป็นต้นเป็น เครื่องหมาย ว่า พิธีผูกพัทธสีมา.