บาย หมายถึง น. ข้าว. (ข.).
น. เครื่องเชิญขวัญหรือรับขวัญ ทําด้วยใบตอง รูปคล้ายกระทงเป็นชั้น ๆ มีขนาดใหญ่เล็กสอบขึ้นไปตามลําดับ เป็น ๓ ชั้น ๕ชั้น ๗ ชั้น หรือ ๙ ชั้น มีเสาปักตรงกลางเป็นแกน มีเครื่องสังเวยวางอยู่ในบายศรีและมีไข่ขวัญเสียบอยู่บนยอดบายศรี มีหลายอย่างเช่น บายศรีตอง บายศรีปากชาม บายศรีใหญ่. (ข. บาย = ข้าว +ศรี = สิริ หมายความว่า ข้าวอันเป็นสิริหรือข้าวขวัญ).
น. บายศรีตองที่จัดวางลงปากชาม.
น. เวลาในระหว่างเที่ยงกับเย็น. ก. คล้อย เช่น ตะวันบ่าย; หัน,ก้าว; เลี่ยงไป เช่น เฒ่าก็ประดิษฐ์ประดับกายเป็นปะขาวดาบสเบือน บ่ายจําแลงเพศ. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
น. เวลาไล่ควายกลับบ้าน, เวลาเย็น, เวลาจวนคํ่า.
ก. เลี่ยงพอให้พ้นไป (มักใช้แก่กริยาพูด), เบี่ยงบ่าย ก็ว่า.
ก. หันหน้า เช่น บ่ายหน้าไปทางทิศเหนือ, มุ่ง เช่น บ่ายหน้ากลับบ้าน.
ก. ป้าย, ทําให้ติดเฉพาะที่ใดที่หนึ่ง, ทาอย่างหยาบ ๆ ไม่ต้องการประณีตบรรจง เช่น บ้ายปูน บ้ายพลู, ทําให้เปรอะเปื้อนด้วยอาการคล้ายเช่นนั้น เช่น เอามินหม้อบ้ายหน้า; ซัดความผิดให้ผู้อื่น ในความว่า บ้ายความผิดให้ผู้อื่น.