บางเบา หมายถึง ว. น้อยลง, ทุเลาลง, เบาบาง ก็ว่า.
ว. ใช้ประกอบหน้านามหมายความว่า ไม่ใช่ทั้งหมด คือ เป็นส่วนย่อยหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของส่วนรวม เช่น บางคน บางพวกบางถิ่น บางสิ่ง, ลาง ก็ใช้.
ว. บางเวลา, บางคราว, บางครั้ง, บางหน, ลางที ก็ใช้.
น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Cynocephalus variegatusในวงศ์ Cynocephalidae รูปร่างคล้ายกระรอก แต่มีหนังเป็นพังผืด ๒ ข้างของลําตัวตั้งแต่คอไปถึงปลายนิ้วตีนและปลายหางสําหรับใช้กางออกคล้ายปีก ถลาร่อนจากที่สูงมายังที่ตํ่าได้ค่อนข้างไกล ขนนุ่มสีนํ้าตาลคลํ้าหรือนํ้าตาลจาง ๆ เป็นหย่อม ๆเล็บโค้งแหลมใช้ปีนป่ายต้นไม้ หากินในเวลากลางคืน กลางวันมักหลบอยู่ตามโพรงไม้หรือเกาะห้อยอยู่ตามพุ่มทึบ, พุงจง หรือพะจง ก็เรียก.
(สํา) น. คนที่ชอบพูดส่อเสียดยุยงให้เขาแตกกัน.
ว. ใช้ประกอบคําอื่นหมายความว่า บางจํานวนหรือบางส่วนของสิ่งที่กล่าวถึงโดยเฉพาะ เช่น อย่างนั้นบ้าง อย่างนี้บ้าง ขอบ้าง,บางส่วนของจํานวนรวมที่แบ่งเป็น ๒ เช่น เรื่องที่เล่าจริงบ้างเท็จบ้าง, มีส่วนร่วม มีความหมายคล้ายคำว่า ด้วย เช่น ขอเล่นบ้างขอขี่จักรยานบ้าง, เอาอย่าง เช่น เห็นเขาทําก็ทําบ้าง. ส. คําใช้แทนผู้หรือสิ่งที่พูดถึงในกรณีที่แยกกล่าวโดยเฉพาะ เช่น บ้างก็กิน บ้างก็เล่น, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
(กลอน) น. บงสุ์, ฝุ่น, ละออง, ธุลี, (โบ) ใช้ว่า บางษุ ก็มี เช่นมหาบางษุกุลพัษตรจีวรา. (นันโท), เมื่อน้นนนางก็ลูบบทบางษุบาท. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). (ป. ปํสุ; ส. ปําสุ).