บริขา หมายถึง [บอริ-] (แบบ) น. คู, สนามเพลาะ. (ป. ปริขา).
[บอริขาน] น. เครื่องใช้สอยของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา มี ๘อย่าง คือ สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ เข็มประคดเอว กระบอก กรองนํ้า (ธมกรก) เรียกว่า อัฐบริขาร,สมณบริขาร ก็เรียก. (ป. ปริกฺขาร).
[-โจน] (แบบ) น. ท่อนผ้าสําหรับใช้สอยเล็กน้อย, ใช้ว่า บริขารโจฬก็มี. (ป.).
[บอริคน] (แบบ) น. เรือน; คําที่แน่นอน, สิ่งที่ถูกต้องแล้ว; ความกําหนดถือเอา, ความยึดถือ, การจับ. ก. นับคะเน, ประมวล.(ป. ปริคฺคหณ).
(กฎ) น. เอกสารก่อตั้งบริษัทจํากัดซึ่งผู้เริ่มก่อการบริษัทจํานวนตั้งแต่๗ คนขึ้นไป เข้าชื่อกันจัดทําขึ้นตามข้อกําหนดของกฎหมายในการจัดตั้งบริษัทจํากัด เรียกว่า หนังสือบริคณห์สนธิ.
[บอริจาก] ก. สละให้, เสียสละ. น. การสละ, การให้, การแจก, ความเสียสละ, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม หรือราชธรรม). (ป. ปริจฺจาค).
[บอริจารก] น. คนใช้, คนบําเรอ. (ป., ส. ปริจารก).
[บอริ-] น. หญิงรับใช้, ประกอบกับคํา บาท เป็น บาทบริจาริกา แปลว่าเมีย, ที่ตัดใช้ว่า บริจา ก็มี เช่น บาทบริจา ทารบริจา อรรคบริจา, หรือตัดใช้ว่า บริจาริก ก็มี. (ป., ส. ปริจาริกา).