ค้นหาคำศัพท์แบบเร่งด่วน


 

  • ความหมายของคำว่า ' บริกรรม '

    บริกรรม  หมายถึง [บอริกํา] ก. สํารวมใจสวดมนต์ภาวนา, สํารวมใจร่ายมนตร์หรือเสกคาถาซํ้า ๆ หลายคาบหลายหนเพื่อให้เกิดความขลังความศักดิ์สิทธิ์.(ส. ปริกรฺมนฺ; ป. ปริกมฺม).

advertisement

 

คำที่ใกล้เคียงกัน

  • บริกัป

    [บอริกับ] (แบบ) น. ความตรึก, ความดําริ, การกําหนด. (ป. ปริกปฺป;ส. ปริกลฺป).

  • บริการ

    [บอริกาน] ก. ปฏิบัติรับใช้, ให้ความสะดวกต่าง ๆ, เช่น ร้านนี้บริการลูกค้าดี. น. การปฏิบัติรับใช้, การให้ความสะดวกต่าง ๆ, เช่น ให้บริการ ใช้บริการ.

  • บริขา

    [บอริ-] (แบบ) น. คู, สนามเพลาะ. (ป. ปริขา).

  • บริขาร

    [บอริขาน] น. เครื่องใช้สอยของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา มี ๘อย่าง คือ สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ เข็มประคดเอว กระบอก กรองนํ้า (ธมกรก) เรียกว่า อัฐบริขาร,สมณบริขาร ก็เรียก. (ป. ปริกฺขาร).

  • บริขารโจล

    [-โจน] (แบบ) น. ท่อนผ้าสําหรับใช้สอยเล็กน้อย, ใช้ว่า บริขารโจฬก็มี. (ป.).

  • บริคณห์

    [บอริคน] (แบบ) น. เรือน; คําที่แน่นอน, สิ่งที่ถูกต้องแล้ว; ความกําหนดถือเอา, ความยึดถือ, การจับ. ก. นับคะเน, ประมวล.(ป. ปริคฺคหณ).

  • บริคณห์สนธิ

    (กฎ) น. เอกสารก่อตั้งบริษัทจํากัดซึ่งผู้เริ่มก่อการบริษัทจํานวนตั้งแต่๗ คนขึ้นไป เข้าชื่อกันจัดทําขึ้นตามข้อกําหนดของกฎหมายในการจัดตั้งบริษัทจํากัด เรียกว่า หนังสือบริคณห์สนธิ.

 


พจนานุกรมไทย-ไทย ออนไลน์

จุดประสงค์ของเว็บ เพื่อสนับสนุนการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามความหมายของแต่ละคำ ขอบคุณข้อมูลจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒