น้ำตับ หมายถึง (ถิ่น–อีสาน) น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ใช้ตับวัวหรือควายสับให้ละเอียดคลุกข้าวสุก เกลือ และเครื่องปรุง ขยําให้เข้ากันแล้วยัดในไส้หมู, หมํ้าหรือ หมํ้าตับ ก็เรียก.
น. นํ้าที่ไหลออกจากนัยน์ตา, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่ไหลเยิ้มอย่างนํ้าตาลที่ไหลซึมจากหม้อตาล.
(สํา) เสียใจเพราะชํ้าใจหรือต้องผิดหวังอย่างหนัก.
(สํา) เศร้าโศกเสียใจอย่างมาก แต่ไม่แสดงให้ปรากฏ.
น. ขี้ผึ้งซึ่งไหลออกจากเทียนเวลาจุด.
น. นํ้าในทะเลและแม่นํ้าลําคลองที่มีทางติดต่อโดยตรงกับทะเลหรือได้รับอิทธิพลจากนํ้าทะเลเป็นต้น มีระดับนํ้าขึ้นและลงน้อยเนื่องจากอิทธิพลของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ในช่วงเวลาที่ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์อยู่ในวงโคจรเกือบเป็นมุมฉากซึ่งกันและกันสัมพันธ์กับโลก นํ้าตายมี ๒ ช่วง คือ ช่วงกึ่งปักษ์แรกระหว่างวันขึ้น ๕–๙ คํ่า และช่วงกึ่งปักษ์หลัง ระหว่างวันแรม๕–๙ คํ่า.
น. สารประกอบคาร์โบไฮเดรตประเภทโมโนแซ็กคาไรด์และไดแซ็กคาไรด์ ซึ่งมีรสหวาน โดยมากได้จากตาล มะพร้าว อ้อย,ถ้าเป็นความหมายเฉพาะอย่างและทําด้วยอะไร ก็เติมคํานั้น ๆลงไป เช่น ทําจากตาล เรียกว่า นํ้าตาลโตนด, ทําจากมะพร้าวเรียกว่า นํ้าตาลมะพร้าว, ทําเป็นงบ เรียกว่า นํ้าตาลงบ, ทําจากอ้อย แต่ยังไม่ได้ทําให้เป็นนํ้าตาลทรายเรียกว่า นํ้าตาลทรายดิบ,ทําเป็นเม็ด ๆ เหมือนทราย เรียกว่านํ้าตาลทราย, ทําเป็นก้อนแข็งเหมือนกรวด เรียกว่า นํ้าตาลกรวด, เคี่ยวให้ข้น ๆ เรียกว่า นํ้าตาลตงุ่น, หยอดใส่ใบตาลหรือใบตองแห้งทําเป็นรูปปี่ เรียกว่า นํ้าตาลปี่,หลอมเป็นปึก เรียกว่า นํ้าตาลปึก, หยอดใส่หม้อ เรียกว่า นํ้าตาลหม้อ,บรรจุใส่ปีบ เรียกว่า น้ำตาลปีบ หรือ น้ำตาลปี๊บ, รองมาใหม่ ๆ ยังไม่ได้เคี่ยว เรียกว่า นํ้าตาลสด, ถ้าต้มให้เดือด เรียกว่า นํ้าตาลลวก,ถ้าใส่เปลือกตะเคียน มะเกลือ หรือเคี่ยม เป็นต้น หมักไว้ระยะหนึ่งจนมีแอลกอฮอล์กินแล้วเมา เรียกว่า นํ้าตาลเมา. ว. สีคล้ายสีนํ้าตาลหม้อที่เคี่ยวแก่ไฟ, ถ้าแก่ไฟจนไหม้ เรียกว่า สีนํ้าตาลไหม้.
(สํา) น. ชายหญิงที่ใกล้ชิดกันมากย่อมห้ามใจไม่ให้รักกันได้ยาก.