ค้นหาคำศัพท์แบบเร่งด่วน


 

  • ความหมายของคำว่า ' ทางสายกลาง '

    ทางสายกลาง  หมายถึง น. มรรคมีองค์ ๘ อันเป็นทางที่จะนำไปสู่ความดับทุกข์ ประกอบด้วย ๑. สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ ๓. สัมมาวาจา การเจรจาชอบ ๔. สัมมากัมมันตะ การงานชอบ ๕. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตชอบ ๖. สัมมาวายามะความพยายามชอบ ๗. สัมมาสติ ความระลึกชอบ ๘. สัมมาสมาธิความตั้งใจชอบ รวมเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง;การปฏิบัติที่ไม่ตึงนักไม่หย่อนนัก, การปฏิบัติที่ไม่ตึงไปทางใดทางหนึ่ง.

advertisement

 

คำที่ใกล้เคียงกัน

  • ทางหลวง

    (กฎ) น. ทางหรือถนนซึ่งจัดไว้เพื่อประโยชน์ในการจราจรสาธารณะทางบก ไม่ว่าในระดับพื้นดิน ใต้หรือเหนือพื้นดินหรือใต้หรือเหนืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น นอกจากทางรถไฟ และหมายความรวมถึงที่ดิน พืช พันธุ์ไม้ทุกชนิด สะพาน ท่อหรือรางระบายน้ำ อุโมงค์ร่องน้ำ กำแพงกันดิน เขื่อน รั้ว หลักสำรวจ หลักเขต หลักระยะป้ายจราจร เครื่องหมายจราจร เครื่องหมายสัญญาณ เครื่องสัญญาณไฟฟ้า เครื่องแสดงสัญญาณ ที่จอดรถที่พักคนโดยสารเรือสำหรับขนส่งข้ามฟาก ท่าเรือสำหรับขึ้นหรือลงรถ และอาคารหรือสิ่งอื่นอันเป็นอุปกรณ์งานทางบรรดาที่ได้จัดไว้ในเขตทางหลวงและเพื่อประโยชน์แก่งานทางนั้นด้วย.

  • ทางออก

    (สํา) น. ทางรอด, วิธีแก้ปัญหา.

  • ทางเอก

    น. ทางที่รถแล่นผ่านไปได้ก่อนรถทางโท.

  • ทาง ๒

    น. เรียกใบของต้นไม้บางชนิด เช่น หมาก มะพร้าว กล้วย,ลักษณนามเรียกใบหมาก ใบมะพร้าว ใบกล้วย เป็นต้น ว่าทาง เช่น ใบกล้วยทางหนึ่ง ใบมะพร้าว ๒ ทาง.

  • ท้าง

    (กลอน) ว. ทั่ว, ตลอด, โบราณใช้อย่างเดียวกับ ทั้ง.

  • ทางมะพร้าว

    น. ชื่องูชนิด Elaphe radiata ในวงศ์ Colubridae ท่อนหัวมีลายยาวตามลําตัวสีดําขาว ท่อนหางสีนํ้าตาลแดง ไม่มีพิษ, ก้านมะพร้าวก็เรียก.

  • ทาฐะ, ทาฒะ

    (แบบ) น. เขี้ยว, งาช้าง. (ป. ทา?า; ส. ทาฒา).

 


พจนานุกรมไทย-ไทย ออนไลน์

จุดประสงค์ของเว็บ เพื่อสนับสนุนการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามความหมายของแต่ละคำ ขอบคุณข้อมูลจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒