ทะแย หมายถึง น. ชื่อเพลงไทยโบราณทํานองหนึ่ง มีมาแต่สมัยอยุธยา มีอัตรา ๒ชั้น ประเภทหน้าทับปรบไก่ มี ๒ ท่อน ท่อนที่ ๑ มี ๔ จังหวะ ท่อนที่ ๒มี ๖ จังหวะ.
น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ซึ่งใช้ทำนองเพลงทะแยมาบรรเลงอย่างเพลงเรื่องและต้องตีกลองหน้าทับกลองโยนเลียนวิธีการตีกลองชนะในกระบวนแห่ในการเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราสถลมารค ปี่ชวามักเป่าเพลงทะแยกลองโยนเข้ากับกลองชนะในกระบวนเสด็จ และใช้บรรเลงเป็นเพลงประจำกัณฑ์นครกัณฑ์ในการเทศน์มหาชาติ, เรียกสั้น ๆ ว่ากลองโยน.
น. เพลงสําหรับร้องรับในวงมโหรีปี่พาทย์.
(ปาก) ก. เข้าไปเกี่ยวข้องทั้ง ๆ ที่ไม่มีหน้าที่, ทะร่อท่อแร่ ก็ว่า.
ก. ทําให้เป็นช่องทะลุ เช่น ทะลวงปล้องไม้ไผ่, ทําให้เป็นทางหรือเป็นช่องทะลุเข้าไป เช่น ทะลวงฟัน บุกทะลวง.
น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Parinari anamense Hance ในวงศ์Chrysobalanaceae ไม้ใช้ทําเครื่องบนและเครื่องล่างของเรือนเมล็ดให้นํ้ามันใช้ทากันนํ้าซึมและผสมยางรักทําเครื่องเขิน.
ก. อาการที่สิ่งที่แออัดกันอยู่หรือถูกกีดกั้นผลุดหรือหลุดออกมาโดยแรง เมื่อสิ่งกีดกั้นแตกหรือพังทลายลง เช่น ลูกทะลัก ไส้ทะลักหนองทะลัก, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่นสินค้าที่กักตุนทะลักออกมา.
ก. ลักลั่นกัน, ไม่เป็นระเบียบ.