ค้นหาคำศัพท์แบบเร่งด่วน


 

  • ความหมายของคำว่า ' ทึบ '

    ทึบ  หมายถึง ว. มีลมอากาศหรือแสงสว่างเข้าออกไม่ได้หรือไม่เพียงพอ เช่นห้องทึบ ผนังทึบ ตู้ทึบ ป่าทึบ, ไม่โปร่งแสง เช่น เป็นแท่งทึบ; ไม่โปร่ง,หนาแน่น, เช่น ลายทึบ; โดยปริยายหมายความว่าโง่มาก เช่นปัญญาทึบ สมองทึบ.

advertisement

 

คำที่ใกล้เคียงกัน

  • ทึม ๑

    น. โรงสําหรับตั้งศพเพื่อประกอบพิธีก่อนเผา เรียกว่า โรงทึม.

  • ทึม ๒, ทึม ๆ

    ว. ครึ้ม, มัวซัว, เช่น ท้องฟ้าทึม สีทึม ๆ.

  • ทึม ๒, ทึม ๆ

    ว. ครึ้ม, มัวซัว, เช่น ท้องฟ้าทึม สีทึม ๆ.

  • ทึ่ม

    (ปาก) ว. ทื่อ, ไม่เฉียบแหลม, โง่.

  • ทึมทึก

    ว. จวนแก่, เรียกมะพร้าวที่จวนแก่ว่า มะพร้าวทึมทึก, เรียกสาวใหญ่ที่ยังไม่ได้แต่งงานว่า สาวทึมทึก, ทึนทึก ก็ว่า.

  • ทื่อ

    ว. ไม่คม (ใช้แก่ของแบน ๆ ที่มีคมแต่ไม่คม) เช่น มีดทื่อ; ไม่เฉียบแหลมเช่น ปัญญาทื่อ; ไม่มีลับลมคมใน เช่น พูดทื่อ ๆ; นิ่งเฉยอยู่ไม่กระดุกกระดิกเหมือนสิ่งไม่มีชีวิต เช่น แข็งทื่อ, ซื่อ ก็ว่า. ก. รี่เข้าใส่โดยไม่ระมัดระวัง เช่น ทื่อเข้าใส่.

  • ทุ ๑

    ว. คําอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลําบาก,เลว, ทราม, เช่น ทุจริต ว่า ความประพฤติชั่ว, ทุกร ว่า ทําได้โดยยาก,ทุปปัญญา ว่า ปัญญาทราม เป็นต้น. (ดู ทุร ประกอบ). (ป.; ส. เดิมเป็น ทุสฺ), ทุ นี้เมื่ออยู่หน้าคําอื่นตามหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีและสันสกฤต กําหนดให้เติมตัวสะกดลงตัวหนึ่งเพื่อให้เท่าของเดิม เช่นทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + จริต เป็น ทุจจริต, ตัวสะกดนั้นดูพยัญชนะคําหลังเป็นเกณฑ์ ถ้าพยัญชนะวรรคคําหลังเป็นอักษรสูงหรืออักษรกลางก็ใช้พยัญชนะที่ ๑ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + กร เป็น ทุกกร,ทุ + ข เป็น ทุกข, ถ้าเป็นพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรต่ำก็ใช้พยัญชนะที่ ๓ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ,ทุ + ภาษิต เป็น ทุพภาษิต, อีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าพยัญชนะคําหลังเป็นอักษรตํ่า ก็ใช้เติม ร แทนตัวสะกดได้ทุกวรรค เช่น ทุรชน ทุรพลทุรภิกษ์ ทุรยศ ทุรลักษณ์, หรือเอาสระ อุ ออกเสียก็มี เช่น ทรชนทรพล ทรพิษ ทรยศ ทรลักษณ์, ในวิธีหลังนี้บางมติว่า เอา อุ เป็น ร(ใช้ไปถึงคํา ทรกรรม ด้วย) และเมื่ออยู่หน้าสระก็เติม ร เช่น ทุ +อาจาร เป็น ทุราจาร, ทุ + อาธวา เป็น ทุราธวา.

 


พจนานุกรมไทย-ไทย ออนไลน์

จุดประสงค์ของเว็บ เพื่อสนับสนุนการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามความหมายของแต่ละคำ ขอบคุณข้อมูลจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒