ตจปัญจกกรรมฐาน หมายถึง [ตะจะปันจะกะกำมะถาน] น. กรรมฐานอันบัณฑิตกําหนดด้วยอาการมีหนังเป็นที่ ๕ เป็นอารมณ์ คือ กรรมฐานที่ท่านสอนให้พิจารณาส่วนต่าง ๆของร่างกายตั้งแต่ผม ขน เล็บ ฟัน ไปถึงหนังเป็น ๕ อย่าง. (ป.).
[ตะจะสาน] น. ต้นไม้มีผิวเปลือกแข็งเช่นต้นไผ่. (ป. ตจสาร ว่า ต้นไม้มีเปลือกเป็นแก่น).
ก. อาการที่ลมระบายออกทางทวารหนัก, ผายลม. น. ลมที่ออกจากทวารหนัก เช่น เหม็นตด.
น. ชื่อแมลงพวกด้วงปีกแข็งหลายชนิดหลายสกุล เช่น สกุล Pherosophus,Brachinus ในวงศ์ Carabidae หัวและอกเล็ก แคบ ท้องโต ปีกแข็งคลุมส่วนท้องไม่หมด ลําตัวยาว ๒-๓ เซนติเมตร ท้องกว้าง๕-๘ มิลลิเมตร สีนํ้าตาลอมเหลืองหรือนํ้าตาลแก่ มีลายสีเข้มตามหัว อก และท้อง เมื่อถูกรบกวนสามารถปล่อยสารพิษประเภทควินอลออกมาทางก้นได้ ที่สําคัญได้แก่ ชนิด P. siamensis,P. occipitalis และ P. javanus, พายัพเรียก ขี้ตด.
ดู ย่านพาโหม.
[ตะติยะ-] ว. ที่ ๓, คํารบ ๓, มักใช้ประกอบหน้าคําอื่น เช่น ตติยวาร. (ป.).
[ตะถาคด] น. พระนามพระพุทธเจ้า. (ป. ตถาคต ว่า พระผู้ไปแล้วอย่างนั้น เป็นคําที่พระพุทธเจ้าทรงเรียกพระองค์เอง).
น. ตัว (ตัวคน) เช่น ตนเป็นที่พึ่งของตน; ลักษณนามใช้เรียกเทวดายักษ์ หรือพวกกายสิทธิ์ เป็นต้น เช่น ยักษ์ตนหนึ่ง เทวดา ๒ ตน.