ตรียัมปวาย หมายถึง [ตฺรียําปะ-] น. พิธีพราหมณ์ฝ่ายใต้กระทํารับพระอิศวร ที่เรียกเป็นสามัญว่า พิธีโล้ชิงช้า ซึ่งกระทําในวันขึ้น ๗ คํ่าตอนเช้า ขึ้น ๙ คํ่าตอนเย็น เดือนยี่.(เทียบทมิฬ ติรุเวมปาไว).
[ตฺรึก] ก. นึก, คิด. (ส. ตรฺก; ป. ตกฺก).
[ตฺรึกตฺรอง] ก. ใคร่ครวญ, คิดทบทวน, ตริตรอง.
[ตฺรึก] ก. หมด, สิ้น, เปลือง, น้อย, มักใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่ตรึก, มิตรึก,เช่น จึงองค์มิสาระปันหยี จึงตอบว่าข้าจะให้ไก่ดีดี ของเรามีไม่ตรึกอย่าร้อนใจ. (อิเหนา), ท่านก็ไม่ขัดสนจนพราย มากมายตามพรูอยู่มิตรึกแรกรักจะรําพันให้ครั่นครึก. (ขุนช้างขุนแผน), ฤๅจะใคร่ได้เมียสาว ๆขาว ๆ ดี ๆ มีไม่ตรึก. (มณีพิชัย).
[ตฺรึก-] (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ว. น้อย, มักใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่ตรึกถอง หรือไม่ตรึกไม่ถอง เช่น มีทรัพย์สมบัติไม่ตรึกถอง นับไม่ตรึกไม่ถอง.
[ตฺรึง] ก. ทําให้อยู่กับที่ เช่น ตรึงตะปู ตรึงที่นอน ตรึงข้าศึก, ทําให้อยู่คงที่เช่น ตรึงราคาสินค้าไว้, ติดอยู่ เช่น ตรึงใจ.
ก. ติดแน่น.
[ตฺรึงสะ-] (แบบ) ว. สามสิบ. (ส. ตฺรึศตฺ; ป. ตึส).