ค้นหาคำศัพท์แบบเร่งด่วน


 

  • ความหมายของคำว่า ' ตีนจ้ำ '

    ตีนจ้ำ  หมายถึง น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Ardisia aprica Fletch. ในวงศ์Myrsinaceae ยอดและใบอ่อนกินได้.

advertisement

 

คำที่ใกล้เคียงกัน

  • ตีนตะขาบ

    น. ชื่อเฟินชนิด Nephrolepis biserrata (Sw.)Schott ในวงศ์ Nephrolepidaceae.

  • ตีนตุ๊กแก

    น. (๑) ชื่อไม้เถาชนิด Ficus pumila L. ในวงศ์ Moraceaeใบเขียว กิ่งก้านแตกรากเกาะเลื้อย ใช้ปลูกประดับผนัง,ลิ้นเสือ ก็เรียก. (๒) ชื่อไม้ล้มลุกขนาดเล็กชนิด Tridax procumbens L. ในวงศ์ Compositae ขึ้นทั่วไปตามที่รกร้าง ดอกมีก้านยาว กลีบสีเหลืองนวล. (๓) ชื่อไม้ล้มลุกอวบนํ้าชนิด Kalanchoe delagoensis Eckl. et Zeyh.ในวงศ์ Crassulaceae เป็นไม้ปลูก, ตุ๊กแกใบกลม ก็เรียก.(๔) ชื่อเฟินขนาดเล็กชนิด Selaginella helferi Warb.ในวงศ์ Selaginellaceae ใบเป็นเกล็ดเล็ก ๆ มีกลุ่มอับสปอร์เป็นแท่งที่ปลายกิ่ง. (๕) ชื่อเห็ดชนิด Schizophyllum commune Fr. ในวงศ์ Schizophyllaceae ขึ้นตามเปลือกไม้ ดอกเห็ดรูปพัดขอบจักม้วนลง สีขาวอมเทาอ่อน ด้านล่างมีครีบสีนํ้าตาลเข้ม เนื้อเหนียว กินได้, เห็ดข้าวตอก ก็เรียก,ปักษ์ใต้เรียก เห็ดแครง. (๖) ชื่อเห็ดชนิด Lopharia papyracea(Jungh.) Reid ในวงศ์ Stereaceae ขึ้นบนขอนไม้ ไม่มีก้านเป็นแผ่นบางคล้ายกระดาษ สีนํ้าตาลหม่น กินได้ และใช้ทํายา, เห็ดจิก ก็เรียก.

  • ตีนเต่า

    น. เรียกกล้วยลูกเล็ก ๆ ที่อยู่ปลายเครือว่า กล้วยตีนเต่า.

  • ตีนเทียน

    น. ชื่อนกชนิด Himantopus himantopus ในวงศ์Recurvirostridae ลําตัวด้านบนลายเขียว ด้านล่างสีขาว ปากสีดําและยาวเรียว ขายาวสีแดง ตัวผู้หัวสีดําตัวเมียหัวสีขาว พบอยู่ตามชายฝั่งแม่นํ้า กินกุ้งและปลา.

  • ตีนนก

    น. (๑) ชื่อไม้ต้นชนิด Vitex pinnata L. ในวงศ์ Labiataeดอกเล็ก สีฟ้าอมขาว ออกเป็นช่อใหญ่ ผลกลมเล็ก สีดำเนื้อไม้ทนทานใช้ทำเครื่องมือ, กานน กาสามปีก โคนสมอหรือ สมอกานน ก็เรียก. (๒) ดู กาสามปีก (๑).

  • ตีนเป็ด

    น. ชื่อไม้ต้น ๒ ชนิดในวงศ์ Apocynaceae คือ ชนิดAlstonia scholaris (L.) R. Br. ใบออกรอบข้อ ๔–๗ ใบ ผลเป็นฝักยาว ๒ ฝัก, สัตบรรณ หรือ พญาสัตบรรณก็เรียก; และ ตีนเป็ดน้ำ (Cerbera odollam Gaertn.)เป็นไม้ต้นขนาดกลาง มักขึ้นตามชายนํ้า ดอกสีขาวผลกลม.

  • ตีนแรด

    น. (๑) เห็ดตีนแรด. [ดู จั่น ๕ (๒)]. (๒) ชื่อต้นไม้ยืนต้น.(พจน. ๒๔๙๓).

 


พจนานุกรมไทย-ไทย ออนไลน์

จุดประสงค์ของเว็บ เพื่อสนับสนุนการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามความหมายของแต่ละคำ ขอบคุณข้อมูลจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒