ตาม หมายถึง ก. ไปหรือมาข้างหลังหรือภายหลังโดยลําดับของสิ่งหรือเหตุการณ์ที่มีมาก่อน เช่น ตามเขาไป แล้วจึงค่อยตามมา ตามเหตุการณ์; เรียกตัวมา เช่น ไปตามนายก มา, เชิญมา เช่น ไปตามหมอ; เที่ยวค้นหาสิ่งที่หายไป เช่น ตามเรื่อง ตามวัว; จุดให้ไฟติดไว้ เช่น ตามไฟตามตะเกียง ตามประทีป. ว. อาการที่เลียนแบบหรือเอาอย่าง เช่น ทําตาม คล้อยตาม; ควรแก่, เหมาะแก่,เช่น ตามกําลังความสามารถ; เหมือน, อย่าง, ดัง, เช่นตามเคย ตามปรกติ ตามธรรมดา; แล้วแต่, สุดแต่, เช่นตามใจ ตามอัธยาศัย ตามกรรม; ไม่ทวนกระแส (ใช้แก่กระแสนํ้าหรือกระแสลม) ในคําว่า ตามนํ้า ตามลม; ไม่ขัด, ไม่ฝ่าฝืน, ไม่ฝืน, เช่น ทําตามคําสั่ง ปฏิบัติตามกฎหมาย ตามสมัยนิยม. บ. แถว, แนว, ถิ่น, ที่, เช่น มีอยู่ตามป่า ปิดไว้ตามกําแพง; โดย เช่น ตามที่ปรากฏว่า.
น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง, เรียกชื่อเต็มว่า พระรามตามกวาง. (เงาะป่า; ศกุนตลา; ราชาธิราช).
ว. รีบร้อน ในสํานวนว่า เดินอย่างตามควาย.
ก. แล้วแต่ใจ.
(สํา) ก. เห็นแก่กินย่อมสิ้นเปลืองมาก.
(สํา) ก. เห็นแก่กินมักจะเดือดร้อน.
ว. แล้วแต่จะเป็นไป.
ว. ตามที่ปรากฏ เช่น เทศน์ตามเนื้อผ้า, ตามข้อเท็จจริง เช่น ว่าไปตามเนื้อผ้า.