กระทุ่ม ๒ หมายถึง ก. เอาเท้าตีน้ำเมื่อเวลาว่ายน้ำ; ตี เช่น กรกระทุ่มทรวงครวญร่าร้อง. (เพชรมงกุฎ); (โบ; กลอน)โดยปริยายหมายความว่าผ่า เช่น ฟ้ากระทุ่มทับลง. (แช่งน้ำ).
น. ซอไม้ไผ่ที่เอามาปักเป็นเสารั้ว; หลัก เช่น ช้างพังพลายเป็นสัตว์มีคุณแล้วก็เป็นกระทู้ราชการสําหรับแผ่นดินสืบมา.(ท้องตราโบราณ วชิรญาณรายเดือน เล่ม ๗), เป็นกระทู้การสงคราม. (ประชุมพงศ. ๒); (ไว) ในฉันทลักษณ์ หมายเอาข้อความอันเป็นเค้าเงื่อนนําหน้าบทกลอน เช่น โคลงที่แต่งตามเค้าเงื่อนนั้น เรียกว่า โคลงกระทู้.
น. หัวข้อหรือข้อความที่ตั้งให้อธิบาย เช่น กระทู้ธรรม กระทู้ถาม.กระทู้ถาม (กฎ) น. คําถามในข้อเท็จจริงหรือนโยบายที่สมาชิกสภานิติบัญญัติหรือสมาชิกสภาขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นตั้งถามฝ่ายบริหารให้ตอบในที่ประชุมแห่งสภานั้น ๆ หรือตอบเป็นหนังสือ. (อ. question).
น. ชื่อหนอนของแมลงกลุ่มหนึ่งในวงศ์ Noctuidae หรือPhalaenidae ลําตัวอ่อนนุ่ม ผิวเป็นมัน มีขนตามลําตัวน้อย ส่วนใหญ่สีคล้ำ ทางด้านท้องสีอ่อนกว่า มักมีแถบหรือเส้นสีต่าง ๆ เช่น สีส้มอมน้ำตาล เหลืองอมขาว พาดตามยาวที่สันหลังและข้างลําตัว มีขาจริง ๓ คู่ ขาเทียม๕ คู่ กินพืช โดยมักจะกัดต้นพืชให้ขาดออกจากกัน ทําให้เหลือแต่ตอโผล่เหนือพื้นดิน มองคล้ายกระทู้หรือซอไม้ไผ่ที่ปักเป็นหลัก ชนิดที่รู้จักกันทั่วไป เช่น หนอนกระทู้ควายพระอินทร์ หรือ หนอนกระทู้คอรวง (Mythimna separata)ที่ทําลายต้นข้าว.
ว. เท่, เอียง.
ว. เอียงทื่ออยู่, เอียงไปมาก, มักพูดเข้าคู่กับ เอียง เป็นเอียงกระเท่เร่, โดยปริยายหมายความว่า ลําเอียงมาก.
ใช้เข้าคู่กับคํา กระทบ เป็น กระทบกระเทียบ.
น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Allium sativum L. ในวงศ์ Alliaceaeคล้ายต้นหอม หัวเป็นกลีบ ๆ เมื่อแห้งสีขาว กลิ่นฉุน รสเผ็ดร้อน ใช้ปรุงอาหาร, พายัพเรียก หอมเตียม, อีสานเรียกหอมขาว, ปักษ์ใต้เรียก เทียม.