ค้นหาคำศัพท์แบบเร่งด่วน


 

  • ความหมายของคำว่า ' กระทืบยอบ '

    กระทืบยอบ  หมายถึง น. ชื่อไม้ล้มลุก ๓ ชนิด คือ Biophytum adiantoidesWight ex Edgew. et Hook.f., B.petersianum Klotzschและ B. sensitivum (L.) DC. ในวงศ์ Oxalidaceae ต้นเล็ก ๆใบคล้ายใบผักกระเฉด เมื่อถูกกระเทือนหุบได้ ดอกสีเหลือง,กระทืบยอด ก็เรียก.

advertisement

 

คำที่ใกล้เคียงกัน

  • กระทุ

    น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Rhodomyrtus tomentosa Wight ในวงศ์Myrtaceae ขึ้นชุมตามป่าโปร่งทางปักษ์ใต้ ใบหนา สีเขียวแก่ออกเป็นคู่ ๆ ตามกิ่ง บางทีออกเป็น ๓ ใบจากข้อเดียวกัน ด้านล่างของใบมีขนทึบสั้น ๆ ดอกสีชมพู สัณฐานคล้ายกุหลาบลาขนาดเล็ก ๆ ออกตามง่ามใบ ดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ ๒-๓ ดอกก็มีผลกลม เมื่อสุกสีม่วงดํา กินได้ มีรสหอมหวาน, ทุ พรวด พลวดใหญ่หรือ พลวดกินลูก ก็เรียก.

  • กระทุง

    น. ชื่อนกน้ำขนาดใหญ่ในวงศ์ Pelecanidae ขนสีขาวหรือสีเทา ๆตัวขนาดห่าน ปากยาวใหญ่ ปากล่างมีลักษณะเป็นถุงขนาดใหญ่สําหรับจับปลาทีละมาก ๆ อาศัยอยู่ตามแม่น้ำลําคลองและชายทะเลในประเทศไทยมีเพียงชนิดเดียวคือ ชนิด Pelecanus philippensis.

  • กระทุ้ง

    ก. เอาสิ่งที่มีลักษณะยาวกระแทกให้แน่นหรือให้ออก, โดยปริยายหมายความว่า หนุนให้กระทําหรือกล่าวแสดงออกมา เช่น กระทุ้งให้ร้องเพลง, ทุ้ง ก็ว่า เช่น ชอบแต่ทุบถองทุ้งให้กุ้งกิน. (มณีพิชัย).

  • กระทุ้งเส้า

    ก. เอาไม้เส้ากระทุ้งเพื่อให้จังหวะฝีพาย.

  • กระทุงลาย

    ดู กระทงลาย.

  • กระทุงหมาบ้า

    น. ชื่อไม้เถาชนิด Dregea volubilis (L.f.) Benth. ex Hook.f.ในวงศ์ Asclepiadaceae มียางขาวเป็นพิษ ใบมนหรือรูปไข่ปลายแหลม โคนใบเว้าหรือป้าน ออกเป็นคู่ตรงข้ามกันตามลําต้น ดอกสีเขียวอ่อนเป็นพวงกลม ใช้ทํายา, ฮ้วนหมู ก็เรียก.

  • กระทุงเหว

    น. ชื่อปลาผิวน้ำทุกชนิดในวงศ์ Belonidae และ Hemirhamphidaeลําตัวกลมยาวคล้ายปลาเข็ม กระดูกปากทั้งตอนบนและล่างหรือเฉพาะตอนล่างยื่นยาวแหลม หางเป็นแฉก บ้างก็ตัดเฉียงลงมากน้อยหรือกลมแล้วแต่ชนิดหรือสกุล บางชนิดพบอาศัยอยู่ในน้ำจืดเช่น กระทุงเหวเมือง (Xenentodon cancila) ส่วนใหญ่พบในเขตน้ำกร่อยหรือชายทะเล เช่น ชนิดในสกุล Hemirhamphus,Hyporhamphus, Rhynchorhamphus, Tylosurus, Strongyluraและ Zenarchopterus ชนิดที่พบในทะเลห่างฝั่งและบริเวณรอบเกาะคือ กระทุงเหวบั้ง (Ablennes hians) ซึ่งมีชุกชุมที่สุด, เข็ม ก็เรียก.

 


พจนานุกรมไทย-ไทย ออนไลน์

จุดประสงค์ของเว็บ เพื่อสนับสนุนการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามความหมายของแต่ละคำ ขอบคุณข้อมูลจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒