ค้นหาคำศัพท์แบบเร่งด่วน


 

  • ความหมายของคำว่า ' กฎศีลธรรม '

    กฎศีลธรรม  หมายถึง น. กฎว่าด้วยการกระทำที่ถูกต้องและไม่ถูกต้องทางศีลธรรม.

advertisement

 

คำที่ใกล้เคียงกัน

  • กฎเสนาบดี

    (เลิก) ดู กฎกระทรวง.

  • กฎหมู่

    น. อํานาจกดดันที่บุคคลจํานวนมากนํามาใช้บีบบังคับให้อีกฝ่ายหนึ่งกระทําหรือเว้นกระทําสิ่งที่บุคคลจำนวนนั้นต้องการ (มักไม่เป็นไปตามตัวบทกฎหมาย).

  • กฎแห่งกรรม

    น. กฎว่าด้วยกรรมและผลแห่งกรรมที่ผู้กระทําจักต้องได้รับ.

  • กฎอัยการศึก

    (กฎ) น. กฎหมายซึ่งได้ตราขึ้นไว้สําหรับประกาศใช้เมื่อมีเหตุจําเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง เช่น ในกรณีเกิดสงครามการจลาจล ในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึกเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอํานาจหน้าที่เหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับการยุทธ์การระงับปราบปราม หรือการรักษาความสงบเรียบร้อย และศาลทหารมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาบางอย่างที่ประกาศระบุไว้แทนศาลพลเรือน.

  • กฎหมาย

    (กฎ) น. กฎที่สถาบันหรือผู้มีอํานาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือเพื่อกําหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ. (โบ)ก. จดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน เช่น สั่งให้นายอินกฎหมายผู้มีชื่อทั้งนี้ไว้. (พงศ. อยุธยา), ทําหนังสือเป็นหลักฐาน เช่น อนึ่ง มีผู้ทําหนังสือร้องเรียนกฎหมายว่า.... (พระราชกําหนดเก่า); ออกหมายกําหนดเช่น ให้มหาดไทยกลาโหมกฎหมายบอกแก่ตระลาการ ถ้ากฎหมายมิทั่วจะเอาตัวผู้กฎหมายลงโทษ. (พระราชกําหนดเก่า); กฎหมายงานพระบรมศพครั้งกรุงเก่า; ตราสั่ง เช่น จึ่งกฎหมายให้สามไปเดือนหนึ่งจอมไตร ดํารัสให้เร่งคืนมา. (พากย์); กําหนดขีดขั้น เช่นให้ปลูกโรงรจนาใน นอกหน้าศาลชัย ให้ตั้งพิกัดกฎหมาย. (พากย์).

  • กฎหมายนานาประเทศ

    (กฎ; โบ) น. ชื่อเดิมของกฎหมายระหว่างประเทศ. (ดู กฎหมายระหว่างประเทศ).

  • กฎหมายปกครอง

    (กฎ) น. กฎหมายสาขาหนึ่งของกฎหมายมหาชนที่วางหลักเกี่ยวกับการจัดระเบียบในทางปกครองของรัฐ และการดำเนินกิจกรรมของฝ่ายปกครองในการจัดทำบริการสาธารณะรวมทั้งวางหลักความเกี่ยวพันในทางปกครองระหว่างฝ่ายปกครองกับเอกชน. (อ. administrativelaw).

 


พจนานุกรมไทย-ไทย ออนไลน์

จุดประสงค์ของเว็บ เพื่อสนับสนุนการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามความหมายของแต่ละคำ ขอบคุณข้อมูลจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒