ค้นหาคำศัพท์แบบเร่งด่วน


 

  • ความหมายของคำว่า ' กระช้อยนางรำ '

    กระช้อยนางรำ  หมายถึง น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Codariocalyx motorius Ohashi ในวงศ์Leguminosae ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓ ใบ ใบคู่ล่างเล็กกว่าและกระดิกไหวไปมาได้, ช้อยนางรํา ช้อยช่างรํา หรือนางรํา ก็เรียก.

advertisement

 

คำที่ใกล้เคียงกัน

  • กระชัง ๑

    น. บังสาดที่ปิดและเปิดได้. (เทียบ ช. กระรันชัง = กระจาด).กระชังหน้าใหญ่ (สํา) ว. จัดจ้าน, ออกหน้ารับเสียเอง, เช่นแม่กระชังหน้าใหญ่.

  • กระชัง ๒

    น. เครื่องสําหรับขังปลาชนิดหนึ่ง ใช้ไม้ไผ่ทําเป็นกง ๔ อันแล้วผูกด้วยซี่ไม้ไผ่โดยรอบ รูปกลม หัวท้ายเรียว ตอนบนเจาะเป็นช่อง มีฝาปิด ใช้ไม้ขัดฝา ๒ ข้าง ใช้ไม้ไผ่กระหนาบเพื่อให้ลอยได้ ในขณะออกไปจับปลาตามกร่ำ เมื่อจับปลาหรือกุ้งได้ก็เอาใส่ไว้ในนั้นชั่วคราว, อีกชนิดหนึ่ง สานด้วยไม้ไผ่ มีปากเปิดกว้างคล้าย ๆ ตะกร้าหรือเข่งใส่ของ แต่ใหญ่กว่ากระชังชั่วคราวนั้นหลายเท่า เป็นที่สําหรับจับปลาขนาดใหญ่มาขังไว้หรือเลี้ยงลูกปลาให้โตตามที่ต้องการ เพื่อบริโภคหรือค้าขาย และเอากระชังนี้ผูกติดหลักแช่ลอยน้ำไว้.

  • กระชัง ๓

    (โบ) น. น้ำปัสสาวะแห่งทารก, น้ำคร่ำ, เขียนเป็น กะชัง ก็มี.(มิวเซียม).

  • กระชั้น

    ว. ใกล้ชิด (เข้ามา) (ใช้แก่เวลาหรือเหตุการณ์) เช่น เวลากระชั้นเข้ามา ขี่ม้าขับกระชั้นมา, เร่งเข้า เช่น ไก่ขันกระชั้นเสียง, นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระโชก เป็น กระโชกกระชั้น.

  • กระชับ ๑

    น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Xanthium strumarium L. ในวงศ์Compositae มักขึ้นเป็นวัชพืชในทุ่งนาและริมน้ำ ลําต้นและใบคาย ใบมนเว้า ขอบจักโคนใบแหลม ดอกเล็กรวมเป็นกระจุก ผลรี ยาวประมาณ ๑ เซนติเมตร มีหนามปลายงอทั่วทั้งผล รากหอมอ่อน ๆ ใช้อบผ้าได้ บางส่วนของไม้นี้ใช้เป็นยาได้ แต่ทั้งต้นเป็นพิษต่อปศุสัตว์, ขี้ครอก หรือ ขี้อ้นก็เรียก.

  • กระชับ ๒

    ก. แน่น, แนบแน่น, แนบกันสนิท, พอเหมาะ, แต่มีความหมายบอกว่า มีลักษณะที่ยิ่งขึ้นหรือทีเดียว เช่น กระชับแน่นกระชับตัว กระชับความ กระชับมือ. (ข. ขฺชาบ่).

  • กระชาก

    ก. ฉุดโดยแรง, กระตุกโดยแรง, ชักเข้ามาโดยเร็วและแรง,โดยปริยายหมายความว่า พูดกระตุกเสียงดังห้วน ๆ เช่นพูดกระชากเสียง, นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระโชก เป็นกระโชกกระชาก.

 


พจนานุกรมไทย-ไทย ออนไลน์

จุดประสงค์ของเว็บ เพื่อสนับสนุนการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามความหมายของแต่ละคำ ขอบคุณข้อมูลจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒