ค้นหาคำศัพท์แบบเร่งด่วน


 

  • ความหมายของคำว่า ' กระแจะ ๒ '

    กระแจะ ๒  หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Naringi crenulata (Roxb.)Nicolson ในวงศ์ Rutaceae ขึ้นในป่าเบญจพรรณ ต้นและกิ่งมีหนามเปลือกขรุขระสีเทา ดอกเล็กสีขาวเป็นช่อสั้น ยาวประมาณ ๒ เซนติเมตร กลิ่นหอมอ่อน ท่อนไม้ฝนกับน้ำใช้เป็นเครื่องประทิ่นผิว รากใช้ทํายา, กะแจะ กะแจะ ขะแจะ ตุมตังหรือ พญายา ก็เรียก.

advertisement

 

คำที่ใกล้เคียงกัน

  • กระแจะ ๓

    น. ชื่อรูปปลอกเหล็กสําหรับจับช้างดุ ทางปลายสัณฐานปากเปิดอย่างคีมคีบเบ้าทองเหลือง มีกําลังหดตัวให้ปลายจดเข้าหากันได้ ที่ริมปากมีงาแซงทําด้วยเหล็กปลายแหลมข้างละอัน ที่โคนปลอกมีที่สําหรับสวมคันไม้ไผ่ที่ทะลวงให้กลวง ร้อยเชือกซึ่งผูกจากปลอกลอดออกมาจากคันไม้ใช้สําหรับพุ่งเข้าไปเกาะขาช้างข้างใดข้างหนึ่งไว้ เมื่อเกาะได้แล้ว โรยปลายไปผูกกับขอนไม้ไว้เพื่อช้างจะได้ลาก ช้างกําลังดุก็ลากไป งาแซงก็จะฝังลึกเข้าไปทุกทีจนไม่สามารถจะก้าวขาได้ ก็เป็นอันจับได้; (ถิ่น-พายัพ) โซ่หรือกำไลเหล็กที่ทำเป็นปลอกสวมเท้าหน้าช้างทั้งคู่ให้ชิดกัน เพื่อมิให้ช้างเดินได้เร็วจนไกลถิ่นเกินควร ใช้เมื่อปล่อยช้างให้หากินในป่า.

  • กระโจน

    ก. กระโดดพุ่งไปโดยเร็ว, เผ่นข้ามไป, โจน ก็ว่า.

  • กระโจม ๑

    น. สิ่งที่ตามปรกติมียอดเป็นลอมอย่างซุ้ม ใช้เป็นเครื่องกําบังแดดลมเป็นต้น, โดยปริยายหมายถึง (๑) สิ่งที่รวมกันเข้าเป็นลอม เช่น กระโจมปืน. (๒) สิ่งที่ผูกรวบยอดให้รวมกัน เช่นปากผูกกระโจม. (๓) ผ้าที่ทําเป็นลอมเพื่อเข้าไปอยู่ให้เหงื่อออก เช่น เข้ากระโจม; กูบที่มีด้านเปิดโล่ง ๔ ด้าน, โจม ก็ว่า;(ถิ่น) เครื่องสวมศีรษะอย่างหนึ่ง เช่น กระจอนหูแปงประดับแก้วเครื่องเลิศอุดมกระโจมคำสุบเก้าเกษ. (ม. ภาคอีสาน นครกัณฑ์).

  • กระโจมทอง

    น. เครื่องกันแดดและฝนเปิดโล่ง ๔ ด้าน อยู่บนสัปคับหลังช้างพระที่นั่ง เขียนลายปิดทองรดน้ำ.

  • กระโจมไฟ

    น. หอสูงซึ่งตามไฟฉายแสงอย่างแรงไว้บนยอดเพื่อใช้บอกสัญญาณในการเดินเรือเป็นต้น, ประภาคาร หรือ เรือนตะเกียงก็เรียก.

  • กระโจมอก

    ก. นุ่งผ้าสูงปิดอก. ว. อาการที่นุ่งผ้าสูงปิดอก ในความว่านุ่งผ้ากระโจมอก.

  • กระโจม ๒

    ก. โถมเข้าไป เช่น ไม่ได้ทีอย่ากระโจมเข้าโรมรัน.(รามเกียรติ์ ร. ๒); ข้ามลําดับไป ในความว่า กินข้าวต้มกระโจมกลาง.

 


พจนานุกรมไทย-ไทย ออนไลน์

จุดประสงค์ของเว็บ เพื่อสนับสนุนการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามความหมายของแต่ละคำ ขอบคุณข้อมูลจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒