ค้นหาคำศัพท์แบบเร่งด่วน


 

  • ความหมายของคำว่า ' กระเจี้ยง '

    กระเจี้ยง  หมายถึง น. ชื่อกล้วยไม้อิงอาศัยชนิด Epigeneium amplum (Lindl.)Summerh. ในวงศ์ Orchidaceae ดอกใหญ่ ทั้งกลีบนอกและกลีบในสีเหลืองประแดง, เอื้องศรีเที่ยง ก็เรียก.

advertisement

 

คำที่ใกล้เคียงกัน

  • กระเจี๊ยบ

    น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Abelmoschus esculentus (L.) Moenchในวงศ์ Malvaceae ผลสีเขียว ยาวประมาณ ๑๒ เซนติเมตรใช้เป็นผัก, กระเจี๊ยบมอญ มะเขือทวาย หรือ มะเขือมอญ ก็เรียก.

  • กระเจี๊ยบเปรี้ยว

    น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Hibiscus sabdariffa L. ในวงศ์ Malvaceaeเปลือกต้นมีปอเหนียวทนทาน ผลสีแดง ใช้ทําแยม, กระเจี๊ยบแดงก็เรียก, พายัพเรียก เกงเขง หรือ เกงเคง.

  • กระเจียว

    น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Curcuma sessilis Gage ในวงศ์Zingiberaceae ลักษณะคล้ายต้นกระชาย มีหัวใต้ดินขณะออกดอกไม่มีใบ ช่อดอกเป็นช่อตั้ง ดอกสีขาว อยู่ระหว่างกาบสีขาวปลายสีม่วงใช้ประกอบอาหารได้, พายัพเรียก อาวแดง.

  • กระเจี๊ยว

    (ปาก) น. อวัยวะสืบพันธุ์เด็กชายเล็ก ๆ, เจี๊ยว หรือ อ้ายเจี๊ยว ก็ว่า.

  • กระแจะ ๑

    น. ผงเครื่องหอมต่าง ๆ ที่ประสมกันสําหรับทาหรือเจิมโดยปรกติมีเครื่องประสม คือไม้จันทน์ แก่นไม้หอมชะมดเชียง หญ้าฝรั่น.

  • กระแจะ ๒

    น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Naringi crenulata (Roxb.)Nicolson ในวงศ์ Rutaceae ขึ้นในป่าเบญจพรรณ ต้นและกิ่งมีหนามเปลือกขรุขระสีเทา ดอกเล็กสีขาวเป็นช่อสั้น ยาวประมาณ ๒ เซนติเมตร กลิ่นหอมอ่อน ท่อนไม้ฝนกับน้ำใช้เป็นเครื่องประทิ่นผิว รากใช้ทํายา, กะแจะ กะแจะ ขะแจะ ตุมตังหรือ พญายา ก็เรียก.

  • กระแจะ ๓

    น. ชื่อรูปปลอกเหล็กสําหรับจับช้างดุ ทางปลายสัณฐานปากเปิดอย่างคีมคีบเบ้าทองเหลือง มีกําลังหดตัวให้ปลายจดเข้าหากันได้ ที่ริมปากมีงาแซงทําด้วยเหล็กปลายแหลมข้างละอัน ที่โคนปลอกมีที่สําหรับสวมคันไม้ไผ่ที่ทะลวงให้กลวง ร้อยเชือกซึ่งผูกจากปลอกลอดออกมาจากคันไม้ใช้สําหรับพุ่งเข้าไปเกาะขาช้างข้างใดข้างหนึ่งไว้ เมื่อเกาะได้แล้ว โรยปลายไปผูกกับขอนไม้ไว้เพื่อช้างจะได้ลาก ช้างกําลังดุก็ลากไป งาแซงก็จะฝังลึกเข้าไปทุกทีจนไม่สามารถจะก้าวขาได้ ก็เป็นอันจับได้; (ถิ่น-พายัพ) โซ่หรือกำไลเหล็กที่ทำเป็นปลอกสวมเท้าหน้าช้างทั้งคู่ให้ชิดกัน เพื่อมิให้ช้างเดินได้เร็วจนไกลถิ่นเกินควร ใช้เมื่อปล่อยช้างให้หากินในป่า.

 


พจนานุกรมไทย-ไทย ออนไลน์

จุดประสงค์ของเว็บ เพื่อสนับสนุนการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามความหมายของแต่ละคำ ขอบคุณข้อมูลจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒