กระ ๔ หมายถึง ใช้เป็นพยางค์หน้า (๑) ซึ่งเดิมเป็น ก กํา กุ ข ต ส เช่น กบิล -กระบิล, กําแพง - กระแพง, กุฎี - กระฎี, ขจัด - กระจัด, ตวัด -กระหวัด, สะท้อน - กระท้อน. (๒) โบราณใช้แทน ตระ เช่นตระกูล - กระกูล, ตระลาการ - กระลาการ. (อัยการเบ็ดเสร็จ). (๓) เติมหน้าคําโดยไม่มีความหมายก็มี เช่น ซุ้ม - กระซุ้ม,โดด - กระโดด, พุ่ม - กระพุ่ม, ยาจก - กระยาจก, เติมให้มีความหมายแน่นแฟ้นขึ้นก็มี เช่น ทํา - กระทํา, ทุ้ง - กระทุ้ง,เสือกสน - กระเสือกกระสน. (๔) ย้าหน้าคําอันขึ้นต้นด้วย กในบทกลอน คือ กระกรี๊ด กระกรุ่น กระกลับกลอก กระเกริ่นกระเกรียม กระเกรียว กระเกรี้ยว กระเกริก. (๕) นอกนี้เป็นกระ มาแต่เดิม เช่น กระทรวง กระบือ.
(กลอน) ก. ฉายรัศมี เช่น ทินกรกระกรจามี- กรกรรัศมีดุรงครัตน์พรรณราย. (สมุทรโฆษ). (กระ + ส. กร = รัศมี).
(โบ; กลอน) ว. กระด้าง, หยาบ, เช่น หนงงหยาบสุรเสียงศัพท์ดูก็กระกรับกระเกรียบ. (ม. คําหลวง กุมาร).
(กลอน) ว. เสียงกรีด ๆ ดั่งเสียงหญิงร้องด้วยความตกใจเช่น แต่ร้องจนสุดสิ้นพระสุรเสียงสำเนียงกระกรี๊ดกรีด.(ม. ร่ายยาว กุมาร).
(กลอน) ว. กรุ่น ๆ เช่น ไฟฟุนกระกรุ่นเกรียม. (สรรพสิทธิ์).
(กลอน) ก. กลับกลอก เช่น มีตาดุจแก้วแสงสาย กระกลับกลอกพราย ชื่อรัตนจักษุมงคล. (ตําราช้างคําฉันท์).
(โบ; กลอน) ว. สูงชัน, กรวด, กรกวด ก็ว่า เช่น อยู่จอมด้วยกรกวดกิ่งก้านรวดรยงงามอยู่น้นน. (ม. คําหลวง มัทรี).
(แบบ) ก. กอด, เกี่ยวพัน, เช่น เกษแก้วกระกองกลม แลกทดกทันงาม.(เสือโค).