ค้นหาคำศัพท์แบบเร่งด่วน


 

  • ความหมายของคำว่า ' กร่อย '

    กร่อย  หมายถึง [กฺร่อย] ว. ไม่จืดสนิทหรือไม่หวานสนิท เพราะมีรสเค็มเจือ,โดยปริยายหมายความว่า หมดรสสนุกหรือหมดความครึกครื้นเช่น การแสดงที่ไม่สนุกทำให้คนดูรู้สึกกร่อย.

advertisement

 

คำที่ใกล้เคียงกัน

  • กระ ๑

    น. ชื่อเต่าทะเลชนิด Eretmochelys imbricata ในวงศ์ Cheloniidaeหลังเป็นเกล็ดแผ่นโต ๆ ดูเหมือนซ้อนเหลื่อมกันอย่างกระเบื้องมุงหลังคาสีน้ำตาลลายเหลือง ปากงุ้มคล้ายปากเหยี่ยว ขาแบนเป็นพาย มีไข่กลมเปลือกนิ่มเหนียว ไข่ตามหาดทรายครั้งละ ๑๕๐-๒๕๐ฟอง. (ข. กราส่).

  • กระ ๒

    น. ชื่อไม้ต้นชนิด Elateriospermum tapos Blumeในวงศ์ Euphorbiaceae ผลกลมมี ๓ พู เปลือกแข็ง เมื่อแก่สีคล้ำเกือบดํา เมล็ดรูปยาวรี เปลือกแข็งเป็นมันสีน้ำตาลเข้ม ภายในมีเนื้อขาว ๒ กลีบประกบกัน เมื่อดิบมีพิษร้ายแรง ดองหรือคั่วแล้วกินได้ รสมัน เรียกว่า ลูกกระ, ปักษ์ใต้และมลายูเรียก ประ.

  • กระ ๓

    น. จุดดำ ๆ หรือจุดน้ำตาลขึ้นประปรายที่ผิวกายคน สัตว์ หรือสิ่งอื่น ๆ, ประ ก็ว่า.

  • กระ ๔

    ใช้เป็นพยางค์หน้า (๑) ซึ่งเดิมเป็น ก กํา กุ ข ต ส เช่น กบิล -กระบิล, กําแพง - กระแพง, กุฎี - กระฎี, ขจัด - กระจัด, ตวัด -กระหวัด, สะท้อน - กระท้อน. (๒) โบราณใช้แทน ตระ เช่นตระกูล - กระกูล, ตระลาการ - กระลาการ. (อัยการเบ็ดเสร็จ). (๓) เติมหน้าคําโดยไม่มีความหมายก็มี เช่น ซุ้ม - กระซุ้ม,โดด - กระโดด, พุ่ม - กระพุ่ม, ยาจก - กระยาจก, เติมให้มีความหมายแน่นแฟ้นขึ้นก็มี เช่น ทํา - กระทํา, ทุ้ง - กระทุ้ง,เสือกสน - กระเสือกกระสน. (๔) ย้าหน้าคําอันขึ้นต้นด้วย กในบทกลอน คือ กระกรี๊ด กระกรุ่น กระกลับกลอก กระเกริ่นกระเกรียม กระเกรียว กระเกรี้ยว กระเกริก. (๕) นอกนี้เป็นกระ มาแต่เดิม เช่น กระทรวง กระบือ.

  • กระกร

    (กลอน) ก. ฉายรัศมี เช่น ทินกรกระกรจามี- กรกรรัศมีดุรงครัตน์พรรณราย. (สมุทรโฆษ). (กระ + ส. กร = รัศมี).

  • กระกรับกระเกรียบ

    (โบ; กลอน) ว. กระด้าง, หยาบ, เช่น หนงงหยาบสุรเสียงศัพท์ดูก็กระกรับกระเกรียบ. (ม. คําหลวง กุมาร).

  • กระกรี๊ด

    (กลอน) ว. เสียงกรีด ๆ ดั่งเสียงหญิงร้องด้วยความตกใจเช่น แต่ร้องจนสุดสิ้นพระสุรเสียงสำเนียงกระกรี๊ดกรีด.(ม. ร่ายยาว กุมาร).

 


พจนานุกรมไทย-ไทย ออนไลน์

จุดประสงค์ของเว็บ เพื่อสนับสนุนการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามความหมายของแต่ละคำ ขอบคุณข้อมูลจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒