ค้นหาคำศัพท์แบบเร่งด่วน


 

  • ความหมายของคำว่า ' กรมธรรม์ '

    กรมธรรม์  หมายถึง [กฺรมมะทัน] (กฎ; โบ) น. เอกสารซึ่งทาส ลูกหนี้ยินยอมให้กรมการอำเภอทำให้ไว้แก่เจ้าหนี้นายเงิน, คำนี้เรียกเต็มว่า สารกรมธรรม์หรือย่อว่า สารกรม, บางทีเรียกเพียงคำเดียวว่า กรม ก็มี เช่น กู้หนี้ถือสีนกันเข้าชื่อในกรมหลายคน. (สามดวง); กรมธรรม์ประกันภัย.(ส. กรฺม + ธรฺม).

advertisement

 

คำที่ใกล้เคียงกัน

  • กรมธรรม์ประกันภัย

    (กฎ) น. ตราสารที่มีลายมือชื่อของผู้รับประกันภัยและมีรายการแสดงวัตถุที่เอาประกันภัย จำนวนงินเอาประกันภัย ชื่อผู้เอาประกันภัย ชื่อผู้รับประกันภัย วันที่สัญญาเริ่มต้นและสิ้นสุด และอื่น ๆ ตามที่กฎหมายบังคับ ตลอดจนเงื่อนไขเกี่ยวกับประโยชน์ สิทธิ และหน้าที่ของผู้เอาประกันภัย และผู้รับประกันภัย, มักเรียกสั้น ๆ ว่า กรมธรรม์.(อ. policy of insurance).

  • กรมนา

    [กฺรมมะ-] ดู กรม ๓.

  • กรมวัง

    [กฺรมมะ-] น. แผนกราชการที่บริหารกิจการในพระราชสํานัก;ข้าราชการแผนกนี้ เช่น กรมวังรับสั่งใส่เกศี. (อิเหนา).

  • กรร ๑

    [กัน] (โบ) ก. จับ เช่น กรกรรนฤบดี. (สมุทรโฆษ). (ข. กาน่ ว่า ถือ).

  • กรร ๒

    [กัน] (เลิก) ก. กัน เช่น เรือกรร.

  • กรร- ๓

    [กัน-] ใช้เป็นพยางค์หน้า (ซึ่งโบราณเขียนเป็น กนน หรือ กัน ก็มี) แทนกระ เช่น กรรชิง - กันชิง - กระชิง, กรรเช้า - กรนนเช้า - กระเช้า,กรรเชอ - กนนเชอ - กระเชอ, กรรโชก - กันโชก - กระโชก, กรรพุ่ม -กระพุ่ม, กรรลึง - กระลึง.

  • กรรกง

    [กัน-] (เลิก) น. ที่ล้อมวง เช่น จําเนียรกรรกงรอบนั้น. (ม. คําหลวงนครกัณฑ์), ใช้เป็น กงกรร ก็มี เช่น แลสับสังกัดกงกรร. (สมุทรโฆษ).

 


พจนานุกรมไทย-ไทย ออนไลน์

จุดประสงค์ของเว็บ เพื่อสนับสนุนการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามความหมายของแต่ละคำ ขอบคุณข้อมูลจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒