กรมเกรียม หมายถึง ก. ระทมใจจนหม่นไหม้, ใช้ว่า เกรียมกรม ตรมเตรียม หรือเตรียมตรม ก็มี เช่น จักขานความที่เกรียมกรม. (กฤษณา).
[กฺรม] (แบบ) น. ลําดับ เช่น จะเล่นโดยกรม. (สมุทรโฆษ).[ส.; ข. กฺรุํ (กฺรม) ว่า หมวด, หมู่, กอง; ครอบครัว เช่นมวยกฺรุํ = ครอบครัวหนึ่ง].
[กฺรมมะสัก] (กฎ; โบ) น. ชื่อกฎหมายลักษณะหนึ่ง ซึ่งกําหนดระวางโทษปรับตามศักดินา อายุ และความร้ายแรงหนักเบาของความผิดที่กระทํา. (สามดวง).
[กฺรม] น. (ก) หมู่เหล่าอันเป็นที่รวมกําลังไพร่พลของแผ่นดินตามลักษณะปกครองสมัยโบราณ เพื่อประโยชน์ในเวลาเกิดศึกสงคราม จะได้เรียกระดมคนได้ทันท่วงที บรรดาชายฉกรรจ์ต้องเข้าอยู่ในกรมหรือในหมู่เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เรียกว่า สังกัดกรมมีหัวหน้าควบคุมเป็น เจ้ากรม ปลัดกรม ตามลําดับ ซึ่งเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งให้ เจ้านายครอบครองเป็นองค์ ๆ เรียกว่า ตั้งกรมแล้ว เจ้านายพระองค์นั้นก็ ทรงกรม เป็น เจ้าต่างกรม เพราะมีกรมขึ้นต่างออกไปเป็นกรมหนึ่ง มีพระอิสริยศักดิ์ตั้งเจ้ากรม ปลัดกรมเป็น หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา ได้ และเรียกชื่อกรมนั้น ๆ ตามศักดิ์เจ้ากรมว่า กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ กรมสมเด็จพระ และ กรมพระยา หรือ กรมสมเด็จ เมื่อจะทรงกรมสูงขึ้นกว่าเดิม ก็โปรดให้ เลื่อนกรม ขึ้น โดยเจ้ากรมมีศักดิ์เลื่อนขึ้น เช่นจากหมื่นเป็นขุน, มาในปัจจุบันชื่อกรมเหล่านี้มีความหมายกลายเป็นพระอิสริยยศและพระนามเจ้านายเท่านั้น. (ข) แผนกใหญ่ในราชการ ตามลักษณะปกครองในสมัยโบราณ ซึ่งในปัจจุบันเรียกว่า กระทรวง เช่น กรมพระกลาโหม คือ กรมฝ่ายทหารเป็นกระทรวงกลาโหม, กรมมหาดไทย คือ กรมฝ่ายพลเรือน เป็นกระทรวงมหาดไทย, กรมเมือง หรือ กรมนครบาล รวมอยู่ในกระทรวงมหาดไทย, กรมวัง แยกเป็นกระทรวงวัง และกระทรวงยุติธรรม (ปัจจุบันกระทรวงวังไม่มีแล้ว), กรมพระคลัง แยกเป็นกระทรวงการคลัง และกระทรวงการต่างประเทศ, กรมนา เป็นกระทรวงเกษตราธิการ (ปัจจุบัน คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์).(ค) (กฎ) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลางรองจากกระทรวงและทบวง.
[กฺรม] (โบ) ย่อมาจากคําว่า กรมธรรม์ เช่น จะคิดเอาดอกเบี้ยมิได้เลย เพราะเปนเงินนอกกรม. (สามดวง).
[กฺรม] (โบ; กลอน) ย่อมาจากคําว่า กรรม เช่น อวยสรรพเพียญชนพิธี- กรมเสร็จกํานนถวาย. (ดุษฎีสังเวย).
[กฺรม] ดู เหมือดโลด (๑).
[กฺรมมะ-] (กฎ;โบ) น. ตำแหน่งพนักงานปกครองที่มีมาแต่สมัยโบราณและได้กำหนดไว้ในข้อบังคับลักษณะการปกครองหัวเมือง ร.ศ. ๑๑๖เรียกว่า กรมการเมือง ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ พวก คือ กรมการในทำเนียบและกรมการนอกทำเนียบ. (ส. กรฺม + การ).