ค้นหาคำศัพท์แบบเร่งด่วน


 

  • ความหมายของคำว่า ' กรด ๒ '

    กรด ๒  หมายถึง [กฺรด] ว. คมมีลักษณะที่กัดกร่อนหรือตัดสิ่งของได้ เช่น น้ำกรด =น้ำที่คม ลมกรด = ลมที่คม.

advertisement

 

คำที่ใกล้เคียงกัน

  • กรด ๓

    [กฺรด] น. ชื่อไม้เถาชนิด Combretum tetralophum C.B. Clarkeในวงศ์ Combretaceae มักขึ้นในที่น้ำท่วม เช่น ตามฝั่งน้ำลําคลองใบโดยมากออกรอบข้อ ๒ หรือ ๓ ใบ ใบอ่อนสีม่วงดํา เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเขียว ผลมีสันแข็งเป็น ๔ ครีบ, เถาวัลย์กรด ก็เรียก; อีกชนิดหนึ่งคือ C. trifoliatum Vent. มีลักษณะคล้ายกันมาก แต่ผลมี๕ ครีบ เช่น กรดกระถินอินจันพรรณไม้. (นิ. อิเหนา), สีเอยเจ้าสีสดเจ้าปลูกต้นกรดไว้ริมท่า. (กล่อมเด็ก).

  • กรด ๔

    [กฺรด] น. ภาชนะใส่น้ำเทพมนตร์ของพราหมณ์ ลักษณะเหมือนคนโทมีฝาปิด มีพวยอย่างกาน้ำ. (เลือนมาจาก ป. กลส; ส. กลศ).

  • กรด ๕

    [กฺรด] (ปาก) ว. ยิ่ง, มาก, เช่น ไวเป็นกรด ฉลาดเป็นกรด.

  • กรน

    [กฺรน] ก. หายใจมีเสียงดังในลําคอขณะหลับ เหตุลิ้นตกจุกคอหอยหรือลิ้นตกจุกคอหอยและลิ้นไก่กับเพดานอ่อนสั่น.

  • กรนทา

    [กฺรน-] (โบ) น. ไม้คนทา (ลิปิ) เช่น กรนทาดาษดวงพรายก็มี.(ม. คําหลวง มหาพน).

  • กรนนเช้า

    [กฺรัน-] (โบ) น. กระเช้า เช่น คร้นนเช้าก็หิ้วกรนนเช้า ชายป่าเต้าไปหาชาย. (ม. คําหลวง มัทรี).

  • กรบ

    [กฺรบ] น. เครื่องแทงปลา ทําด้วยไม้ ๓ อัน มัดติดกัน มีลักษณะคล้าย ๓ เส้า สวมเหล็กแหลมที่ปลายด้ามรูปงอคล้ายไม้เท้า.

 


พจนานุกรมไทย-ไทย ออนไลน์

จุดประสงค์ของเว็บ เพื่อสนับสนุนการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามความหมายของแต่ละคำ ขอบคุณข้อมูลจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒